วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการสอนในชั้นเรียนรวม

เทคนิคการสอนในชั้นเรียนรวม
ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างให้การยอมรับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ดังได้ร่วมทำสัญญาการดำเนินงาน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมพร้อมกันในที่ประชุม (UNESCO) ณ ประเทศสเปน ปี ค.ศ. 1995 ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการศึกษาและหาวิธีการเพื่อส่งเสริมให้การเรียนรวมมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้กล่าวว่า ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญบางประการ ในการดำเนินการ คือ (Elkins :1990)
1. ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรชั้นเรียนปกติเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
2. ต้องพัฒนาทัศนคติของทุกหน่วยงานการศึกษาที่มีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้เป็นไปในเชิงบวก
3. ต้องพัฒนานโยบายของโรงเรียนต่าง ๆ ให้เปิดกว้างเพื่อรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนรวมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
4. ให้บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนปกติเห็นความสำคัญและรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

นอกจากนี้นักการศึกษาพิเศษยังได้แนะนำวิธีการหลัก 5 วิธี ในการสอนเด็กพิเศษในห้องเรียนรวมให้ประสบผลสำเร็จด้วยดี ดังนี้ (McGrath & Nobel. : 1993)

1. สร้างห้องเรียนที่มีบรรยากาศของการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
2. ใช้วิธีการเรียนโดยร่วมมือกันในการเรียนรู้
3. สอนเรื่องเดียวกันแก่เด็กที่มีความสามารถต่างกัน
4. ให้ผู้ช่วยสอน นำสื่อมาช่วยสอนในห้องเรียน
5. สร้างทีมสนับสนุนงานของโรงเรียน(อบต)

อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/4-2.html

ความจำเป็นในการเลือกใช้เทคนิคการสอน

ความจำเป็นในการเลือกใช้เทคนิคการสอน
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การสอนที่พบว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ หรือมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้ ซึ่งครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
เด็กอาจได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่เต็มที่ ถ้าหากครูใช้วิธีการสอนเช่นนั้น ดังนั้นครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม เพื่อสนองต่อเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายในห้องเรียนรวม

แนวคิดในการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอน ได้แก่
1. การเรียนการสอนที่ดี ควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center)
2. เด็กมีความแตกต่างกัน
3. เด็กมีความสามารถในการคิดและรับรู้ต่างกัน

อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/4-1.html

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

การวัดและการประเมินผล

การวัดและประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้
ในการประเมินผลการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระขอเสนอแนะให้ดำเนินการดังนี้
1.การประเมินผลก่อนเรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนแต่ละวิชาและแต่ละกลุ่มสาระที่ต้องประเมินโดยมีจุดมั่งหมายเพื่อจัดทำข้อมูลของตัวเด็กแต่ละคนในเบื้องต้น ว่าเด็กแต่ละปีมีสภาพส่วนใหญ่อย่างไร และนำข้อมูลนี้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพผู้เรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.ดำเนินการประเมินระหว่างเรียนซึ่งการประเมินระหว่างเรียนนี้ เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่า มีการเปลี่ยนแปลงบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการสอนตามแผนการสอน แต่ละแผนที่ผู้สอนวางไว้หรือไม่ และการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นจากสภาพเดิมที่ทดสอบไว้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินนั้น เป็นการนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ ข้อมูลการประเมินระหว่างเรียน จึงใช้ทั้งแก้ไขซ่อมเสริมความบกพร่องของเด็กบางคน ขณะเดียวกันก็นำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมแบบสอนเสริมให้กับเด็กที่เก่ง ได้เกิดพัฒนาเต็มศักยภาพ
3.เป็นการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนซึ่งการประเมินเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ครั้งสุดท้ายนี้ เพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและอิงกลุ่ม ว่าในกลุ่ม ในชั้นนั้น เมื่อผ่านการเรียนรู้ในช่วงเวลาหนึ่งแล้วนักเรียนส่วนใหญ่ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด เพราะต่อไปนี้เป็นการประเมินสะสมพัฒนาการ จะทำระหว่างภาคระหว่างปีก็ได้ เพื่อนำผลไปประเมินรวบยอดอีกครั้งหนึ่งตัดสินเป็นผลสุดท้ายเมื่อจบช่วงชั้นสำหรับเด็ก ม.ต้นที่จัดเป็นรายนั้น
อยากแนะนำว่าในแต่ละรายปีรายภาคอาจจะให้เป็น 2-1-0 แล้วจึงไปตัดผลสุดท้ายเป็น 4-3-2-1 ก็ได้ เพราะเด็กจะได้รู้ว่าตนเองควรจะพัฒนาจุดไหน โดย
2 นี้อาจจะสรุปว่าผลการเรียนดีมาก
1 มีผลการพัฒนาการเรียนรู้ดี
0 ยังต้องปรับปรุง
ซึ่งครูผู้สอนก็ต้องระบุให้ได้ว่า เด็กคนที่ได้ 0 ยังต้องปรับปรุงด้านอะไร เช่นงานยังส่งไม่ครบ หรืองานส่งครบแต่คุณภาพยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับโรงเรียนว่าจะตกลงประกันคุณภาพว่า เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของความสำเร็จ คือ 1 หรือ 2 โรงเรียนอาจจะกำหนดว่าเด็กจะต้องจบที่เกรดเฉลี่ย 2.00 ถ้ากำหนดไว้ที่ 2 ครูต้องจัดการสอนซ่อมเสริมเด็กที่ติด 0 ติด 1 ให้ได้ 2 ก่อนจึงค่อยตัดสินผล เด็กทุกคนก็จะอยู่ที่ระดับ 2 เป็นขั้นต่ำ ซึ่งวิธีนี้ ถ้าทำได้ทั้งหมดจะเป็นการทำให้เด็กในโรงเรียนของเรา มั่นใจได้ว่าเก่ง กว่าเด็กที่อื่นที่อาจจะใช้เกณฑ์ขั้นต่ำเพียงแค่ 1
ในการตัดสินผลการเรียนนั้นให้นำคะแนนที่ได้มากสุดของแต่ละครั้งที่ได้รับการประเมินผลมารวมกันและมาเปลี่ยนเป็นระดับผลการเรียนการประเมินโดยใช้สัญลักษณ์อาจจะให้ระดับคุณภาพผลการเรียน
4 หมายถึง ระดับดีมาก
3 หมายถึง ระดับดี
2 หมายถึง ระดับพอใช้
1 หมายถึง ระดับผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
0 หมายถึง ระดับผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เหล่านี้เป็นการตัดสินรวมทั้งหมด
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การประเมินกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนนั้นจะต้องเป็นการประเมินกิจกรรมประจำภาคเรียนมีวิธีการคือ
1. ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรม อาจจะคอยประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรมโดยดูจากพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมการลงมือดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนด และดูผลสุดท้ายว่าเมื่อเด็กทำกิจกรรมนั้นแล้วได้ผลงานออกมามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง ดูทั้งความประพฤติ การมีส่วนร่วม ดูทั้งการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆรวมถึงผลงานสุดท้ายที่เด็กได้ว่าเป็นคุณภาพอย่างไรอาจจะทำเป็นรูป Rubric เขียนเป็นเกณฑ์คุณภาพออกมา
2.ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรมจะต้องคอยตรวจสอบในเรื่องการใช้เวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามเกณฑ์ ที่สถานศึกษากำหนดหรือไม่ เพราะในเรื่องเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กนี้เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบ และเด็กได้ใช้เวลาตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ให้เป็นประโยชน์ตามความสนใจ ตามความถนัด
3.เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ไปในระยะหนึ่งแล้ว ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรกิจกรรมต้องจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมผู้เรียน เพื่อสรุปความก้าวหน้าในสภาพของการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ในแต่ละระยะเพราะถ้าหากไม่ประเมินเป็นระยะๆจะมองไม่เห็นเลยว่าเด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสนใจ และแสดงความก้าวหน้าของตนเองมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีเด็กบางคน ไม่มีส่วนร่วม ไม่รับผิดชอบหรือผลงานไม่ก้าวหน้าเราจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือส่งเสริมกระตุ้นให้เด็ก ปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกต้องตามที่กำหนดหรือปรับปรุงผลงาน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป ในส่วนนี้เมื่อเสร็จแล้วให้รายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบทุกกิจกรรมโดยทำการประเมินตามจุดประสงค์ที่สำคัญของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่เด็กเข้าร่วม และนำผลการประเมินนั้น ไปรวมกับการประเมินการร่วมกิจกรรม ในช่วงปลายภาคอีกครั้งหนึ่งเพื่อตัดสินผลการร่วมกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดการศึกษา ทั้งนี้ให้ทำทุกภาคเรียน และสรุปในช่วงปลายปีตลอด อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูความก้าวหน้าเด็ก
จากวิธีการทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีการประเมินกิจกรรมผู้เรียน ประจำภาคเรียนและสะสมผลไว้ ในขั้นต่อไปจะเป็นการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อตัดสินผ่านช่วงชั้น คือเมื่อผู้เรียน เรียน 3 ปีหรือ 6 ภาคเรียนแล้วจะต้องมีการประเมินเพื่อสรุปผลการผ่านกิจกรรมตลอดช่วงชั้น ของผู้เรียน แต่ละคน เป็นการนำผลไปพิจารณาตัดสินว่าสมควรให้เด็กผ่านช่วงชั้นนั้นๆหรือไม่ ในขั้นนี้ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
2.ผู้รับผิดชอบกลุ่มเด็กหรือเด็กแต่ละคนนั้นเป็นคนที่สรุปและประเมินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3.นำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียนให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงดำเนินการเสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติให้เด็กแต่ละคนจบช่วงชั้นหรือเลื่อนผ่านช่วงชั้นต่อไปในส่วนของกิจกรรมจึงต้องประเมินเป็น 2 ระยะ คือ ประเมินเป็นรายภาค สะสมผลไว้และนำมาประเมินอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดช่วงชั้น ที่จะต้องทำอย่างเป็นระบบและมีข้อมูล หากนักเรียนจะเก็บหลักฐานผลงานที่ดีเด่นไว้ประกอบด้วย ก็จะเป็นการดีในแง่ที่มีผลงานตัวอย่าง
การประเมินกิจกรรมผู้เรียนนั้นให้ใช้
ผ. หมายถึง หมายถึงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ม.ผ. หมายถึง หมายถึงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์

โดยแนวคิดแล้วเนื่องจาก พรบ.การศึกษา กำหนดว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ต้องการสร้างให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข ซึ่ง 8 สาระกับ 1 กิจกรรม อาจจะเป็นตัวหลักสูตรสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ แต่ในเรื่องของความดี คือมุ่งตรงไปที่ด้าน ความประพฤติคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนดขึ้นมา จะด้วยเป็นนโยบาย เป้าหมายพัฒนาหรือมีการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองท้องถิ่นประกอบด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องกำหนดขึ้น สำหรับพัฒนาผู้เรียนเป็นกรณีพิเศษ เพื่อแก้ปัญหา หรือเป็นการสร้างเอกลักษณ์เกี่ยวกับ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามที่สถานศึกษาและชุมชนนั้นๆต้องการ โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัย วินิจฉัยพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พึงประสงค์หรือไม่ และก็ใช้เป็นส่วนหนึ่ง ประกอบหลักฐานในการจบช่วงชั้นซึ่งมีวิธีการดำเนินงานคือ
1.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาขึ้นโดยอาจประกอบไปด้วย ผู้แทนครู ผู้ปกครองและชุมชน โดยกรรมการจะทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนา การประเมิน และกำหนดเกณฑ์การประเมินรวมถึงแนวทางการปรับปรุงซ่อมเสริมผู้เรียนที่ยังมีคุณลักษณะบกพร่องหรือยังไม่อยู่ในเกณฑ์
2.คณะกรรมการพัฒนา และประเมินคุณลักษณะนี้เป็นผู้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความจำเป็น หรือสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา และชุมชนซึ่งอาจเป็นคุณลักษณะที่กำหนดขึ้นอิสระ หรือเป็นลักษณะที่ซ้ำซ้อนกับมาตรฐาน 8 สาระ 8 กลุ่มวิชาก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดเน้น
จากนั้น คณะกรรมการที่กำหนด กิจกรรมพัฒนานี้อาจจะมี 2.ลักษณะคือ
1. กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะในห้องเรียน ในชั้นเรียน โดยมอบหมายให้ผู้สอนเป็นผู้สังเกต ประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง ในระหว่างการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ และทำข้อมูลบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
2.เป็นการสังเกตประเมินจากกิจกรรม นอกห้องเรียน โดยให้บุคลากรของสถานศึกษา หรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่กำหนดขึ้นเป็นผู้ร่วมสังเกต และประเมินผล หรือ แก้ไขปรับปรุงผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา ทั้งภายนอกห้องเรียน หรือภายนอกสถานศึกษา ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในและนอกสถานที่ ตามระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนนั่นเอง
ผู้สอนหรือคนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์นี้ ควรใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้เห็นว่า เป็นการประเมินที่เที่ยงตรง ไม่ได้ใช้ความรู้สึก เช่นใช้การสังเกตพฤติกรรมจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ดูความเสมอต้นเสมอปลายอาจใช้การสัมภาษณ์การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือให้เด็กจัดทำรายงานตนเองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพโรงเรียนสภาพชุมชนท้องถิ่น หรือนิสัยเด็กแต่ละคน จากนั้นผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลการประเมินทั้งหมด จากหลายฝ่าย เช่นจากผู้สอนผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง แล้วจึงสรุปให้กรรมการสถานศึกษาประกอบการพิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะแต่ละประการตามที่กำหนดไว้โดยโรงเรียน
ในกรณีที่ผู้เรียนได้รับผลการประเมินดีหรือดีเยี่ยม ควรให้ทำการบันทึกข้อมูลการประเมินเพื่อรายงานและส่งต่อผู้ปกครอง หรือส่งต่อช่วงชั้นที่เด็กจะเลื่อนขึ้นไป แต่ในกรณีที่ผู้เรียนได้รับผลการประเมินว่าควรปรับปรุง ควรแจ้งให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ทราบเสียก่อน และต้องจัดกิจกรรมซ่อมเสริมนิสัย ให้เด็กแก้ไขนิสัยตามแนวทางการปรับปรุงที่คณะกรรมการกำหนด แล้วจึงค่อยประเมินผลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งควรจะทำอย่างรอบคอบ และไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกเกร็ง ควรจะดูตามสภาพจริงของเด็กแต่ละคน เพราะไม่ได้มีคะแนน เป็นแค่ส่วนประกอบ ในการที่จะใช้ประกอบการประเมินผลว่า เด็กที่เก่งบางครั้งอาจจะมีพฤติกรรม ที่ไม่สมบูรณ์ก็ได้ เพราะเราอยากได้ทั้งเด็กเก่งและเด็กที่มีความประพฤติดี
ผลการประเมินพฤติกรรมอันพึงประสงค์อาจจะใช้เกณฑ์ในการประเมินเป็น
ดีเยี่ยม หมายถึง มีพฤติกรรมสูงกว่ากำหนด
ดี หมายถึง มีพฤติกรรมเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
ปรับปรุง หมายถึง มีพฤติกรรมบางข้อต้องปรับปรุง

อ้างอิงhttp://school.obec.go.th/sup_br3/rs_4.htm

หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเรียนรู้

ความหมาย "การเรียนรู้"
ทุกวันเราทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเช่น เราขับรถไปซื้อของได้ เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเราไปเล่นกีฬา เราเดินทางมามหาวิทยาลัย และเข้าฟังการบรรยายถูกห้อง เดินไปโรงอาหารโดยไม่ต้องคิด อ่านหนังสือได้ อย่างสบาย ฯลฯ นักศึกษาเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรเป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการที่เราทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ มาเป็นทำได้ อย่างเช่นเมื่อก่อนเราขับรถไม่เป็น แต่ปัจจุบันขับเป็น หรือเมื่อก่อนเราว่ายน้ำ ไม่เป็นแต่ปัจจุบันว่ายเป็น คำถามลักษณะนี้นักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ในหัวข้อ "การเรียนรู้"
การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น
ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำค
1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฎการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฎการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก
2. ทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive theory)
แนวคิดพื้นฐาน
1. แบนดูรามีทัศนะว่า พฤติกรรม (behavior หรือ B) ของมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยหลักอีก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยทางปัญญาและปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ (Personal Factor หรือ P)

2) อิทธิพลของสภาพ แวดล้อม (Environmental Influences หรือ E) ดังรูป
จากรูปจะเห็นว่า B P และ E ล้วนแต่มีลูกศรชี้เข้า หากันและกัน ซึ่งหมายถึงต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นนักศึกษาที่เข้าไป เรียนในชั้นเรียนซึ่งเพื่อนนักศึกษา ส่วนมากขยันตั้งใจเรียน ฉะนั้นเมื่อสภาพแวดล้อม (E) เป็นเช่นนี้ก็ส่งผล ให้นักศึกษาเชื่อ (P) ว่าความขยัน และการตั้งใจเรียนเป็นบรรทัดฐานของกลุ่มนี้ ซึ่งมีผลให้นักศึกษามี พฤติกรรม (B) ซึ่งแสดงถึงความขยัน และ ตั้งใจเรียนไปด้วย และพฤติกรรมซึ่งแสดงความขยันและตั้งใจ เรียนของนักศึกษาก็ทำหน้าที่เป็นสภาพแวดล้อม (E) ให้กับนักศึกษาคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
2. แบนดูราได้ให้ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ (Learning) กับการกระทำ(Performance)ซึ่งสำคัญมาก เพราะคนเราอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธีการ ทุจริตในการสอบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถึงเวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้ หรือเราเรียนรู้ว่าการพูดจาและแสดงกริยาอ่อนหวาน กับพ่อ แม่เป็นสิ่งดีแต่เราอาจจะไม่เคยทำกริยาดังกล่าวเลยก็ได้ 3. แบนดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ เป็นตัวแบบสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์-อักษรก็เป็นตัวแบบได้
3. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต
การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการใส่ใจ กระบวนการเก็บจำ กระบวนการกระทำและกระบวนการจูงใจ 1. กระบวนการใส่ใจ (Attentional processes) เป็นกระบวนการที่มนุษย์ใส่ใจและสนใจรับรู้พฤติกรรมของตัวแบบ การเรียนรู้โดยการสังเกต จะเกิดขึ้นได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลใส่ใจต่อพฤติกรรมของตัวแบบ แต่การจะใส่ใจได้มากน้อยเพียงไรขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ และปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ ได้แก่- ความเด่นชัด ตัวแบบที่มีความเด่นชัดย่อมดึงดูดให้คนสนใจได้มากกว่าตัวแบบที่ไม่เด่น- ความซับซ้อนของเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแบบถ้ามีความซับซ้อนมากจะทำให้ผู้สังเกตมีความใส่ใจน้อยกว่าเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อนน้อย- จำนวนตัวแบบ พฤติกรรมหนึ่ง ๆ หากมีตัวแบบแสดงหลายคนก็เรียกความสนใจใส่ใจจากผู้สังเกตได้มาก หรือการมีตัวแบบที่หลากหลายก็เรียกความสนใจจากผู้สังเกตได้มากเช่นกัน- คุณค่าในการใช้ประโยชน์ ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สังเกตจะได้รับความสนใจมากกว่าตัวแบบที่เป็นไปในทางตรงข้าม เช่น ผู้ที่สนใจการทำอาหารก็จะให้ ความใส่ใจเป็นพิเศษกับรายการโทรทัศน์ ที่สอนการทำอาหาร เป็นต้น - ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ถ้าผู้สังเกตมีความรู้สึกชอบตัวแบบอยู่แล้ว ผู้สังเกตก็จะให้การใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบมากกว่ากรณีที่ผู้สังเกตไม่ชอบตัวแบบนั้นเลย ฉะนั้น การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ จึงมักใช้ตัวแบบที่เป็นชื่นชอบของประชาชนมาเป็นตัวแบบเพื่อกชวนให้ประชาชนใช้สินค้าที่โฆษณา โดยคาดหวังให้ประชาชนใส่ใจกับการโฆษณาของตน
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต- ความสามารถในการรับรู้ รวมถึงความสามารถในการเห็น การได้ยิน การอ่าน การรู้รส การรู้ กลิ่น และการสัมผัส ผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้สูงก็มีโอกาสใส่ใจกับตัวแบบได้มากกว่าผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้ต่ำ- ระดับความตื่นตัว การวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวระดับปานกลางมีโอกาสจะ ใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบได้มากกว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวต่ำ เช่น กำลังง่วงนอน หรือมี ความตื่นตัวสูง เช่น กำลังตกใจหรือดีใจอย่างมาก- ความชอบ/รสนิยมที่มีมาก่อน ผู้สังเกตมักมีความชอบสังเกตตัวแบบบางชนิดมากกว่าตัวแบบบางชนิดอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นตัวแบบที่สอดคล้องกับความชอบของผู้สังเกตก็ทำให้ผู้สังเกตใส่ใจ กับตัวแบบได้มาก เช่น เด็กเล็กชอบดูการ์ตูนมาก ตัวการ์ตูนก็มีโอกาสเป็นตัวแบบให้กับเด็ก ได้มาก ส่วนวัยรุ่นมักชอบตัวแบบที่เป็นนักร้อง นักแสดงยอดนิยมเป็นต้น

2. กระบวนการเก็บจำ (Retention processes) เป็นขั้นที่ผู้สังเกตบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ซึ่งอาจจะ เก็บจำในรูปของภาพ หรือคำพูดก็ได้ แบนดูราพบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของตัวแบบ ออกมาเป็นคำพูด หรือสามารถมีภาพของสิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้โดย การสังเกตได้ดีกว่าผู้ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำงานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปแล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำพูด หรือถ้อยคำ (Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ซ้ำก็จะเป็น การช่วยความจำให้ดียิ่งขึ้น
3. กระบวนการกระทำ (Production processes) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตเอาสิ่งที่เก็บจำมาแปลงเป็นการกระทำ ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเลียนแบบของผู้สังเกต ถ้าผู้สังเกตไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียนรู้โดยการสังเกตมีปัจจัยในเรื่อง กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้สังเกต ฉะนั้นในขั้นกระบวนการกระทำ หรือขั้นของการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบของแต่ละบุคคลจึงต่างกันไป ผู้สังเกตบางคนอาจจะทำได้ดีกว่าตัวแบบหรือบางคนก็สามารถเลียนแบบ ได้เหมือนมาก ในขณะที่บางคนก็อาจจะทำได้ไม่เหมือนกับตัวแบบเพียงแต่คล้ายคลึงเท่านั้น หรือบางคนอาจจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเลยก็ได้
4. กระบวนการจูงใจ (Motivation process) ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อแนวคิดพื้นฐานข้อที่ 2 คือ แบนดูราแยกความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ (Learning ) ออกจาก การกระทำ (Performance) นั่นคือ เราไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรม ทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ออกมา เราจะทำหรือไม่ทำพฤติกรรมนั้น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีแรงจูงใจมากน้อย แค่ไหน เช่น เราอาจจะเรียนรู้วิธีการเต้นแอโรบิค จากโทรทัศน์ แต่เราก็ไม่ยอมเต้นอาจจะเป็น เพราะขี้เกียจ ฯลฯ แต่อยู่มาวันหนึ่ง เราไปเจอเพื่อนเก่าซึ่งทักว่าเราอ้วนมากน่าเกลียด คำประณาม ของเพื่อนสามารถจูงใจให้เราลุกขึ้นมาเต้นแอโรบิค จนลดความอ้วนสำเร็จ เป็นต้น4. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
นักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ และทำการทดลองไว้คือ โคท์เลอร์ (Kohler, 1925)โคท์เลอร์ ได้ทดลองกับลิงชื่อ "สุลต่าน" โดยขังสุลต่านไว้ในกรง และเมื่อสุลต่านเกิดความหิว เพราะถึง เวลาอาหาร โคท์เลอร์ ได้วางผลไม้ไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถเอื้อมถึงได้ด้วยมือเปล่าพร้อม กับวางท่อนไม้ซึ่งมีขนาด ต่างกัน สั้นบ้างยาวบ้าง (ดังรูปที่ 5) ท่อนสั้นอยู่ใกล้กรงแต่ท่อนยาวอยู่ห่างออกไป สุลต่านคว้าไม้ท่อนสั้นได้ แต่ไม่สามารถเขี่ยผลไม้ได้ สุลต่านวางไม้ท่อนสั้นลงและวิ่งไปมาอยู่สักครู่ ทันใดนั้น"สุลต่าน" ก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวมาใกล้ตัว และหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยผลไม้มากินได้ พฤติกรรมของสุลต่านไม่มีการลองผิดลองถูกเลย โคท์เลอร์จึงได้ สรุปว่า สุลต่านมีการหยั่งรู้ (Insight) ในการแก้ปัญหาคือมองเห็นความสัมพันธ์ของไม้ท่อนสั้นและท่อนยาวและ ผลไม้ได้ จากการทดลองของโคท์เลอร์ โคท์เลอร์ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ไว้ดังนี้

1. แนวทางการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงเรียกว่า Insight
2. การที่จะมีความสามารถเรียนรู้แก้ปัญหาอย่างทันทีทันใดได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทำนองเดียวกันมาก่อนเพราะจะช่วยทำให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ได้
3. นอกเหนือจากประสบการณ์เดิมแล้วผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ ต่างๆ เพราะการที่มีความสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ นี้เองจะมีส่วนช่วยให้ ผู้เรียนมีการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้เรียนจะต้องมีระดับสติปัญญา ดีพอสมควรจึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้
อ้างอิง http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ท่องที่ชัยภูมิ

ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล
ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่
อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัด ขอนแก่น ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ โรงพยาบาลชัยภูมิ โทร. 0 4481 1005-8 ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 2516, 0 4481 1376 สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1418 สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493 สถานีตำรวจ โทร. 0 4481 1242
Link ที่น่าสนใจ สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ
http://www.chaiyaphum.go.th
อ้างอิง
http://thai.tourismthailand.org/destination-guide/chaiyaphum-36-1-1.html

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็มชนิดเดียวกัน

หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มนั้นมาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามชนิดของจำนวนที่นำมาบวกกัน
1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก
ตัวอย่างที่ 1 10 + 12 =
ค่าสัมบูรณ์ของ 10 หรือ 10 = 10
ค่าสัมบูรณ์ของ 12 หรือ 12 = 12
ดังนั้น 10 + 12 = 10 + 12
= 22
นั่นคือ 10 + 12 = 22
ถ้าพิจารณาการบวกโดยใช้เส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 3 + 4 =
ดังนั้น 3 + 4 = 7
การใช้เส้นจำนวนในการหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มวกกับจำนวนเต็มบวกการเคลื่อนที่ของลูกศร จะไปในทิศทางเดียวกัน คือ เคลื่อนที่ไปทางขวาตลอด ดังนั้นเมื่อจบการเคลื่อนที่ ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีระยะห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากับผลบวกของระยะทางที่ทั้งสองห่างจาก 0
2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ
หลักการ คือ นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มลบ
ตัวอย่างที่ 3 (-15) + (-20) =
ค่าสัมบูรณ์ของ -15 หรือ -15 = 15
ค่าสัมบูรณ์ของ -20 หรือ -20 = 20
ดังนั้น 15 + 20 = 15 + 20 = 35
แต่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องเป็นจำนวนเต็มลบ
ดังนั้น (-15) + (-20) = -35
ถ้าพิจารณาเส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 4 (-3) + (-3) = ดังนั้น (-3) + (-3) = -6
จะเห็นว่าการเคลื่อนที่ของลูกศรจะไปในทิศทางเดียวกันคือ เคลื่อนไปทางซ้ายตลอด ดังนั้นเมื่อจบการเคลื่อนที่ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นจำนวนเต็มลบที่มีระยะห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากับผลบวกของระยะทางที่จำนวนทั้งสองอยู่ห่างจากศูนย์เราจึงสามารถสรุปเป็นวิธีการที่จะใช้ในการหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มลบ
สรุป
1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก
2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ
การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน
หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มทั้งสองนั้นมาลบกันและผล
ลัพธ์จะเป็น จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มาก
ตัวอย่างที่ 1 -9 + 5 =
ค่าสัมบูรณ์ของ -9 หรือ -9 = 9
ค่าสัมบูรณ์ของ 5 หรือ 5 = 5
นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
จะได้ -9 - 5 = 9 – 5= 4
ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า
ดังนั้น (-9) + 5 = -4
วิธีสั้นๆ คือ (-9) + 5 = - ( -9 - 5 )
= - ( 9 - 5 )
= -4
ถ้าพิจารณาเส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 5 + (-2) =
หลักการ ใช้ 0 เป็นจุดเริ่มต้น เคลื่อนไปทางขวา 5 หน่วย แล้วเคลื่อนย้อนกลับมาทางซ้าย 2 หน่วย จะหยุดที่ 3
ดังนั้น 5 + (-2) = 3
สรุป
การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน คือการนำเอาจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบส่วนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนเต็มลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า