วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการสอนในชั้นเรียนรวม

เทคนิคการสอนในชั้นเรียนรวม
ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างให้การยอมรับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ดังได้ร่วมทำสัญญาการดำเนินงาน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมพร้อมกันในที่ประชุม (UNESCO) ณ ประเทศสเปน ปี ค.ศ. 1995 ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการศึกษาและหาวิธีการเพื่อส่งเสริมให้การเรียนรวมมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้กล่าวว่า ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญบางประการ ในการดำเนินการ คือ (Elkins :1990)
1. ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรชั้นเรียนปกติเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
2. ต้องพัฒนาทัศนคติของทุกหน่วยงานการศึกษาที่มีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้เป็นไปในเชิงบวก
3. ต้องพัฒนานโยบายของโรงเรียนต่าง ๆ ให้เปิดกว้างเพื่อรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนรวมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
4. ให้บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนปกติเห็นความสำคัญและรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

นอกจากนี้นักการศึกษาพิเศษยังได้แนะนำวิธีการหลัก 5 วิธี ในการสอนเด็กพิเศษในห้องเรียนรวมให้ประสบผลสำเร็จด้วยดี ดังนี้ (McGrath & Nobel. : 1993)

1. สร้างห้องเรียนที่มีบรรยากาศของการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
2. ใช้วิธีการเรียนโดยร่วมมือกันในการเรียนรู้
3. สอนเรื่องเดียวกันแก่เด็กที่มีความสามารถต่างกัน
4. ให้ผู้ช่วยสอน นำสื่อมาช่วยสอนในห้องเรียน
5. สร้างทีมสนับสนุนงานของโรงเรียน(อบต)

อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/4-2.html

ความจำเป็นในการเลือกใช้เทคนิคการสอน

ความจำเป็นในการเลือกใช้เทคนิคการสอน
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การสอนที่พบว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ หรือมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ครูตั้งไว้ ซึ่งครูอาจมีวิธีการมากมายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ครูเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ จึงใช้วิธีการเดียวกันนี้สำหรับสอนเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กเหล่านี้พัฒนาขึ้นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะว่าเด็กมีพื้นฐานต่างกัน ความรู้ความสามารถของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
เด็กอาจได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่เต็มที่ ถ้าหากครูใช้วิธีการสอนเช่นนั้น ดังนั้นครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม เพื่อสนองต่อเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายในห้องเรียนรวม

แนวคิดในการปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอน ได้แก่
1. การเรียนการสอนที่ดี ควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center)
2. เด็กมีความแตกต่างกัน
3. เด็กมีความสามารถในการคิดและรับรู้ต่างกัน

อ้างอิง
http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/4-1.html

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

การวัดและการประเมินผล

การวัดและประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้
ในการประเมินผลการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระขอเสนอแนะให้ดำเนินการดังนี้
1.การประเมินผลก่อนเรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนแต่ละวิชาและแต่ละกลุ่มสาระที่ต้องประเมินโดยมีจุดมั่งหมายเพื่อจัดทำข้อมูลของตัวเด็กแต่ละคนในเบื้องต้น ว่าเด็กแต่ละปีมีสภาพส่วนใหญ่อย่างไร และนำข้อมูลนี้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพผู้เรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.ดำเนินการประเมินระหว่างเรียนซึ่งการประเมินระหว่างเรียนนี้ เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนว่า มีการเปลี่ยนแปลงบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในการสอนตามแผนการสอน แต่ละแผนที่ผู้สอนวางไว้หรือไม่ และการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นจากสภาพเดิมที่ทดสอบไว้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินนั้น เป็นการนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถให้เกิดพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ ข้อมูลการประเมินระหว่างเรียน จึงใช้ทั้งแก้ไขซ่อมเสริมความบกพร่องของเด็กบางคน ขณะเดียวกันก็นำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมแบบสอนเสริมให้กับเด็กที่เก่ง ได้เกิดพัฒนาเต็มศักยภาพ
3.เป็นการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนซึ่งการประเมินเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ครั้งสุดท้ายนี้ เพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและอิงกลุ่ม ว่าในกลุ่ม ในชั้นนั้น เมื่อผ่านการเรียนรู้ในช่วงเวลาหนึ่งแล้วนักเรียนส่วนใหญ่ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด เพราะต่อไปนี้เป็นการประเมินสะสมพัฒนาการ จะทำระหว่างภาคระหว่างปีก็ได้ เพื่อนำผลไปประเมินรวบยอดอีกครั้งหนึ่งตัดสินเป็นผลสุดท้ายเมื่อจบช่วงชั้นสำหรับเด็ก ม.ต้นที่จัดเป็นรายนั้น
อยากแนะนำว่าในแต่ละรายปีรายภาคอาจจะให้เป็น 2-1-0 แล้วจึงไปตัดผลสุดท้ายเป็น 4-3-2-1 ก็ได้ เพราะเด็กจะได้รู้ว่าตนเองควรจะพัฒนาจุดไหน โดย
2 นี้อาจจะสรุปว่าผลการเรียนดีมาก
1 มีผลการพัฒนาการเรียนรู้ดี
0 ยังต้องปรับปรุง
ซึ่งครูผู้สอนก็ต้องระบุให้ได้ว่า เด็กคนที่ได้ 0 ยังต้องปรับปรุงด้านอะไร เช่นงานยังส่งไม่ครบ หรืองานส่งครบแต่คุณภาพยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดก็แล้วแต่ ขึ้นอยู่กับโรงเรียนว่าจะตกลงประกันคุณภาพว่า เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของความสำเร็จ คือ 1 หรือ 2 โรงเรียนอาจจะกำหนดว่าเด็กจะต้องจบที่เกรดเฉลี่ย 2.00 ถ้ากำหนดไว้ที่ 2 ครูต้องจัดการสอนซ่อมเสริมเด็กที่ติด 0 ติด 1 ให้ได้ 2 ก่อนจึงค่อยตัดสินผล เด็กทุกคนก็จะอยู่ที่ระดับ 2 เป็นขั้นต่ำ ซึ่งวิธีนี้ ถ้าทำได้ทั้งหมดจะเป็นการทำให้เด็กในโรงเรียนของเรา มั่นใจได้ว่าเก่ง กว่าเด็กที่อื่นที่อาจจะใช้เกณฑ์ขั้นต่ำเพียงแค่ 1
ในการตัดสินผลการเรียนนั้นให้นำคะแนนที่ได้มากสุดของแต่ละครั้งที่ได้รับการประเมินผลมารวมกันและมาเปลี่ยนเป็นระดับผลการเรียนการประเมินโดยใช้สัญลักษณ์อาจจะให้ระดับคุณภาพผลการเรียน
4 หมายถึง ระดับดีมาก
3 หมายถึง ระดับดี
2 หมายถึง ระดับพอใช้
1 หมายถึง ระดับผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
0 หมายถึง ระดับผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เหล่านี้เป็นการตัดสินรวมทั้งหมด
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การประเมินกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนนั้นจะต้องเป็นการประเมินกิจกรรมประจำภาคเรียนมีวิธีการคือ
1. ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรม อาจจะคอยประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรมโดยดูจากพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมการลงมือดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนด และดูผลสุดท้ายว่าเมื่อเด็กทำกิจกรรมนั้นแล้วได้ผลงานออกมามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง ดูทั้งความประพฤติ การมีส่วนร่วม ดูทั้งการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆรวมถึงผลงานสุดท้ายที่เด็กได้ว่าเป็นคุณภาพอย่างไรอาจจะทำเป็นรูป Rubric เขียนเป็นเกณฑ์คุณภาพออกมา
2.ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรมจะต้องคอยตรวจสอบในเรื่องการใช้เวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามเกณฑ์ ที่สถานศึกษากำหนดหรือไม่ เพราะในเรื่องเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กนี้เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบ และเด็กได้ใช้เวลาตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ให้เป็นประโยชน์ตามความสนใจ ตามความถนัด
3.เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ไปในระยะหนึ่งแล้ว ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรกิจกรรมต้องจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมผู้เรียน เพื่อสรุปความก้าวหน้าในสภาพของการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ในแต่ละระยะเพราะถ้าหากไม่ประเมินเป็นระยะๆจะมองไม่เห็นเลยว่าเด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสนใจ และแสดงความก้าวหน้าของตนเองมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีเด็กบางคน ไม่มีส่วนร่วม ไม่รับผิดชอบหรือผลงานไม่ก้าวหน้าเราจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือส่งเสริมกระตุ้นให้เด็ก ปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกต้องตามที่กำหนดหรือปรับปรุงผลงาน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป ในส่วนนี้เมื่อเสร็จแล้วให้รายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบทุกกิจกรรมโดยทำการประเมินตามจุดประสงค์ที่สำคัญของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่เด็กเข้าร่วม และนำผลการประเมินนั้น ไปรวมกับการประเมินการร่วมกิจกรรม ในช่วงปลายภาคอีกครั้งหนึ่งเพื่อตัดสินผลการร่วมกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดการศึกษา ทั้งนี้ให้ทำทุกภาคเรียน และสรุปในช่วงปลายปีตลอด อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูความก้าวหน้าเด็ก
จากวิธีการทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีการประเมินกิจกรรมผู้เรียน ประจำภาคเรียนและสะสมผลไว้ ในขั้นต่อไปจะเป็นการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อตัดสินผ่านช่วงชั้น คือเมื่อผู้เรียน เรียน 3 ปีหรือ 6 ภาคเรียนแล้วจะต้องมีการประเมินเพื่อสรุปผลการผ่านกิจกรรมตลอดช่วงชั้น ของผู้เรียน แต่ละคน เป็นการนำผลไปพิจารณาตัดสินว่าสมควรให้เด็กผ่านช่วงชั้นนั้นๆหรือไม่ ในขั้นนี้ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1.กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
2.ผู้รับผิดชอบกลุ่มเด็กหรือเด็กแต่ละคนนั้นเป็นคนที่สรุปและประเมินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3.นำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของโรงเรียนให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงดำเนินการเสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติให้เด็กแต่ละคนจบช่วงชั้นหรือเลื่อนผ่านช่วงชั้นต่อไปในส่วนของกิจกรรมจึงต้องประเมินเป็น 2 ระยะ คือ ประเมินเป็นรายภาค สะสมผลไว้และนำมาประเมินอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดช่วงชั้น ที่จะต้องทำอย่างเป็นระบบและมีข้อมูล หากนักเรียนจะเก็บหลักฐานผลงานที่ดีเด่นไว้ประกอบด้วย ก็จะเป็นการดีในแง่ที่มีผลงานตัวอย่าง
การประเมินกิจกรรมผู้เรียนนั้นให้ใช้
ผ. หมายถึง หมายถึงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ม.ผ. หมายถึง หมายถึงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์

โดยแนวคิดแล้วเนื่องจาก พรบ.การศึกษา กำหนดว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ต้องการสร้างให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข ซึ่ง 8 สาระกับ 1 กิจกรรม อาจจะเป็นตัวหลักสูตรสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของเด็กแต่ละคนได้ แต่ในเรื่องของความดี คือมุ่งตรงไปที่ด้าน ความประพฤติคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนดขึ้นมา จะด้วยเป็นนโยบาย เป้าหมายพัฒนาหรือมีการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองท้องถิ่นประกอบด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องกำหนดขึ้น สำหรับพัฒนาผู้เรียนเป็นกรณีพิเศษ เพื่อแก้ปัญหา หรือเป็นการสร้างเอกลักษณ์เกี่ยวกับ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามที่สถานศึกษาและชุมชนนั้นๆต้องการ โดยเป็นการประเมินเชิงวินิจฉัย วินิจฉัยพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พึงประสงค์หรือไม่ และก็ใช้เป็นส่วนหนึ่ง ประกอบหลักฐานในการจบช่วงชั้นซึ่งมีวิธีการดำเนินงานคือ
1.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาขึ้นโดยอาจประกอบไปด้วย ผู้แทนครู ผู้ปกครองและชุมชน โดยกรรมการจะทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนา การประเมิน และกำหนดเกณฑ์การประเมินรวมถึงแนวทางการปรับปรุงซ่อมเสริมผู้เรียนที่ยังมีคุณลักษณะบกพร่องหรือยังไม่อยู่ในเกณฑ์
2.คณะกรรมการพัฒนา และประเมินคุณลักษณะนี้เป็นผู้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความจำเป็น หรือสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา และชุมชนซึ่งอาจเป็นคุณลักษณะที่กำหนดขึ้นอิสระ หรือเป็นลักษณะที่ซ้ำซ้อนกับมาตรฐาน 8 สาระ 8 กลุ่มวิชาก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดเน้น
จากนั้น คณะกรรมการที่กำหนด กิจกรรมพัฒนานี้อาจจะมี 2.ลักษณะคือ
1. กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะในห้องเรียน ในชั้นเรียน โดยมอบหมายให้ผู้สอนเป็นผู้สังเกต ประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง ในระหว่างการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ และทำข้อมูลบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
2.เป็นการสังเกตประเมินจากกิจกรรม นอกห้องเรียน โดยให้บุคลากรของสถานศึกษา หรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่กำหนดขึ้นเป็นผู้ร่วมสังเกต และประเมินผล หรือ แก้ไขปรับปรุงผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา ทั้งภายนอกห้องเรียน หรือภายนอกสถานศึกษา ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในและนอกสถานที่ ตามระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนนั่นเอง
ผู้สอนหรือคนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์นี้ ควรใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้เห็นว่า เป็นการประเมินที่เที่ยงตรง ไม่ได้ใช้ความรู้สึก เช่นใช้การสังเกตพฤติกรรมจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน ดูความเสมอต้นเสมอปลายอาจใช้การสัมภาษณ์การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือให้เด็กจัดทำรายงานตนเองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพโรงเรียนสภาพชุมชนท้องถิ่น หรือนิสัยเด็กแต่ละคน จากนั้นผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลการประเมินทั้งหมด จากหลายฝ่าย เช่นจากผู้สอนผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง แล้วจึงสรุปให้กรรมการสถานศึกษาประกอบการพิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะแต่ละประการตามที่กำหนดไว้โดยโรงเรียน
ในกรณีที่ผู้เรียนได้รับผลการประเมินดีหรือดีเยี่ยม ควรให้ทำการบันทึกข้อมูลการประเมินเพื่อรายงานและส่งต่อผู้ปกครอง หรือส่งต่อช่วงชั้นที่เด็กจะเลื่อนขึ้นไป แต่ในกรณีที่ผู้เรียนได้รับผลการประเมินว่าควรปรับปรุง ควรแจ้งให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ทราบเสียก่อน และต้องจัดกิจกรรมซ่อมเสริมนิสัย ให้เด็กแก้ไขนิสัยตามแนวทางการปรับปรุงที่คณะกรรมการกำหนด แล้วจึงค่อยประเมินผลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งควรจะทำอย่างรอบคอบ และไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกเกร็ง ควรจะดูตามสภาพจริงของเด็กแต่ละคน เพราะไม่ได้มีคะแนน เป็นแค่ส่วนประกอบ ในการที่จะใช้ประกอบการประเมินผลว่า เด็กที่เก่งบางครั้งอาจจะมีพฤติกรรม ที่ไม่สมบูรณ์ก็ได้ เพราะเราอยากได้ทั้งเด็กเก่งและเด็กที่มีความประพฤติดี
ผลการประเมินพฤติกรรมอันพึงประสงค์อาจจะใช้เกณฑ์ในการประเมินเป็น
ดีเยี่ยม หมายถึง มีพฤติกรรมสูงกว่ากำหนด
ดี หมายถึง มีพฤติกรรมเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
ปรับปรุง หมายถึง มีพฤติกรรมบางข้อต้องปรับปรุง

อ้างอิงhttp://school.obec.go.th/sup_br3/rs_4.htm

หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเรียนรู้

ความหมาย "การเรียนรู้"
ทุกวันเราทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเช่น เราขับรถไปซื้อของได้ เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเราไปเล่นกีฬา เราเดินทางมามหาวิทยาลัย และเข้าฟังการบรรยายถูกห้อง เดินไปโรงอาหารโดยไม่ต้องคิด อ่านหนังสือได้ อย่างสบาย ฯลฯ นักศึกษาเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรเป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการที่เราทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ มาเป็นทำได้ อย่างเช่นเมื่อก่อนเราขับรถไม่เป็น แต่ปัจจุบันขับเป็น หรือเมื่อก่อนเราว่ายน้ำ ไม่เป็นแต่ปัจจุบันว่ายเป็น คำถามลักษณะนี้นักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ในหัวข้อ "การเรียนรู้"
การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเองอย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น
ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำค
1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฎการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฎการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก
2. ทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive theory)
แนวคิดพื้นฐาน
1. แบนดูรามีทัศนะว่า พฤติกรรม (behavior หรือ B) ของมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยหลักอีก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยทางปัญญาและปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ (Personal Factor หรือ P)

2) อิทธิพลของสภาพ แวดล้อม (Environmental Influences หรือ E) ดังรูป
จากรูปจะเห็นว่า B P และ E ล้วนแต่มีลูกศรชี้เข้า หากันและกัน ซึ่งหมายถึงต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นนักศึกษาที่เข้าไป เรียนในชั้นเรียนซึ่งเพื่อนนักศึกษา ส่วนมากขยันตั้งใจเรียน ฉะนั้นเมื่อสภาพแวดล้อม (E) เป็นเช่นนี้ก็ส่งผล ให้นักศึกษาเชื่อ (P) ว่าความขยัน และการตั้งใจเรียนเป็นบรรทัดฐานของกลุ่มนี้ ซึ่งมีผลให้นักศึกษามี พฤติกรรม (B) ซึ่งแสดงถึงความขยัน และ ตั้งใจเรียนไปด้วย และพฤติกรรมซึ่งแสดงความขยันและตั้งใจ เรียนของนักศึกษาก็ทำหน้าที่เป็นสภาพแวดล้อม (E) ให้กับนักศึกษาคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
2. แบนดูราได้ให้ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ (Learning) กับการกระทำ(Performance)ซึ่งสำคัญมาก เพราะคนเราอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธีการ ทุจริตในการสอบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถึงเวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้ หรือเราเรียนรู้ว่าการพูดจาและแสดงกริยาอ่อนหวาน กับพ่อ แม่เป็นสิ่งดีแต่เราอาจจะไม่เคยทำกริยาดังกล่าวเลยก็ได้ 3. แบนดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ เป็นตัวแบบสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์-อักษรก็เป็นตัวแบบได้
3. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต
การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการใส่ใจ กระบวนการเก็บจำ กระบวนการกระทำและกระบวนการจูงใจ 1. กระบวนการใส่ใจ (Attentional processes) เป็นกระบวนการที่มนุษย์ใส่ใจและสนใจรับรู้พฤติกรรมของตัวแบบ การเรียนรู้โดยการสังเกต จะเกิดขึ้นได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลใส่ใจต่อพฤติกรรมของตัวแบบ แต่การจะใส่ใจได้มากน้อยเพียงไรขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ และปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ ได้แก่- ความเด่นชัด ตัวแบบที่มีความเด่นชัดย่อมดึงดูดให้คนสนใจได้มากกว่าตัวแบบที่ไม่เด่น- ความซับซ้อนของเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแบบถ้ามีความซับซ้อนมากจะทำให้ผู้สังเกตมีความใส่ใจน้อยกว่าเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อนน้อย- จำนวนตัวแบบ พฤติกรรมหนึ่ง ๆ หากมีตัวแบบแสดงหลายคนก็เรียกความสนใจใส่ใจจากผู้สังเกตได้มาก หรือการมีตัวแบบที่หลากหลายก็เรียกความสนใจจากผู้สังเกตได้มากเช่นกัน- คุณค่าในการใช้ประโยชน์ ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สังเกตจะได้รับความสนใจมากกว่าตัวแบบที่เป็นไปในทางตรงข้าม เช่น ผู้ที่สนใจการทำอาหารก็จะให้ ความใส่ใจเป็นพิเศษกับรายการโทรทัศน์ ที่สอนการทำอาหาร เป็นต้น - ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ถ้าผู้สังเกตมีความรู้สึกชอบตัวแบบอยู่แล้ว ผู้สังเกตก็จะให้การใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบมากกว่ากรณีที่ผู้สังเกตไม่ชอบตัวแบบนั้นเลย ฉะนั้น การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ จึงมักใช้ตัวแบบที่เป็นชื่นชอบของประชาชนมาเป็นตัวแบบเพื่อกชวนให้ประชาชนใช้สินค้าที่โฆษณา โดยคาดหวังให้ประชาชนใส่ใจกับการโฆษณาของตน
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต- ความสามารถในการรับรู้ รวมถึงความสามารถในการเห็น การได้ยิน การอ่าน การรู้รส การรู้ กลิ่น และการสัมผัส ผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้สูงก็มีโอกาสใส่ใจกับตัวแบบได้มากกว่าผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้ต่ำ- ระดับความตื่นตัว การวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวระดับปานกลางมีโอกาสจะ ใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบได้มากกว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวต่ำ เช่น กำลังง่วงนอน หรือมี ความตื่นตัวสูง เช่น กำลังตกใจหรือดีใจอย่างมาก- ความชอบ/รสนิยมที่มีมาก่อน ผู้สังเกตมักมีความชอบสังเกตตัวแบบบางชนิดมากกว่าตัวแบบบางชนิดอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นตัวแบบที่สอดคล้องกับความชอบของผู้สังเกตก็ทำให้ผู้สังเกตใส่ใจ กับตัวแบบได้มาก เช่น เด็กเล็กชอบดูการ์ตูนมาก ตัวการ์ตูนก็มีโอกาสเป็นตัวแบบให้กับเด็ก ได้มาก ส่วนวัยรุ่นมักชอบตัวแบบที่เป็นนักร้อง นักแสดงยอดนิยมเป็นต้น

2. กระบวนการเก็บจำ (Retention processes) เป็นขั้นที่ผู้สังเกตบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ซึ่งอาจจะ เก็บจำในรูปของภาพ หรือคำพูดก็ได้ แบนดูราพบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของตัวแบบ ออกมาเป็นคำพูด หรือสามารถมีภาพของสิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้โดย การสังเกตได้ดีกว่าผู้ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำงานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปแล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำพูด หรือถ้อยคำ (Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ซ้ำก็จะเป็น การช่วยความจำให้ดียิ่งขึ้น
3. กระบวนการกระทำ (Production processes) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตเอาสิ่งที่เก็บจำมาแปลงเป็นการกระทำ ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเลียนแบบของผู้สังเกต ถ้าผู้สังเกตไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียนรู้โดยการสังเกตมีปัจจัยในเรื่อง กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้สังเกต ฉะนั้นในขั้นกระบวนการกระทำ หรือขั้นของการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบของแต่ละบุคคลจึงต่างกันไป ผู้สังเกตบางคนอาจจะทำได้ดีกว่าตัวแบบหรือบางคนก็สามารถเลียนแบบ ได้เหมือนมาก ในขณะที่บางคนก็อาจจะทำได้ไม่เหมือนกับตัวแบบเพียงแต่คล้ายคลึงเท่านั้น หรือบางคนอาจจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเลยก็ได้
4. กระบวนการจูงใจ (Motivation process) ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อแนวคิดพื้นฐานข้อที่ 2 คือ แบนดูราแยกความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ (Learning ) ออกจาก การกระทำ (Performance) นั่นคือ เราไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรม ทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ออกมา เราจะทำหรือไม่ทำพฤติกรรมนั้น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีแรงจูงใจมากน้อย แค่ไหน เช่น เราอาจจะเรียนรู้วิธีการเต้นแอโรบิค จากโทรทัศน์ แต่เราก็ไม่ยอมเต้นอาจจะเป็น เพราะขี้เกียจ ฯลฯ แต่อยู่มาวันหนึ่ง เราไปเจอเพื่อนเก่าซึ่งทักว่าเราอ้วนมากน่าเกลียด คำประณาม ของเพื่อนสามารถจูงใจให้เราลุกขึ้นมาเต้นแอโรบิค จนลดความอ้วนสำเร็จ เป็นต้น4. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
นักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ และทำการทดลองไว้คือ โคท์เลอร์ (Kohler, 1925)โคท์เลอร์ ได้ทดลองกับลิงชื่อ "สุลต่าน" โดยขังสุลต่านไว้ในกรง และเมื่อสุลต่านเกิดความหิว เพราะถึง เวลาอาหาร โคท์เลอร์ ได้วางผลไม้ไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถเอื้อมถึงได้ด้วยมือเปล่าพร้อม กับวางท่อนไม้ซึ่งมีขนาด ต่างกัน สั้นบ้างยาวบ้าง (ดังรูปที่ 5) ท่อนสั้นอยู่ใกล้กรงแต่ท่อนยาวอยู่ห่างออกไป สุลต่านคว้าไม้ท่อนสั้นได้ แต่ไม่สามารถเขี่ยผลไม้ได้ สุลต่านวางไม้ท่อนสั้นลงและวิ่งไปมาอยู่สักครู่ ทันใดนั้น"สุลต่าน" ก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวมาใกล้ตัว และหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยผลไม้มากินได้ พฤติกรรมของสุลต่านไม่มีการลองผิดลองถูกเลย โคท์เลอร์จึงได้ สรุปว่า สุลต่านมีการหยั่งรู้ (Insight) ในการแก้ปัญหาคือมองเห็นความสัมพันธ์ของไม้ท่อนสั้นและท่อนยาวและ ผลไม้ได้ จากการทดลองของโคท์เลอร์ โคท์เลอร์ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ไว้ดังนี้

1. แนวทางการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงเรียกว่า Insight
2. การที่จะมีความสามารถเรียนรู้แก้ปัญหาอย่างทันทีทันใดได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทำนองเดียวกันมาก่อนเพราะจะช่วยทำให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ได้
3. นอกเหนือจากประสบการณ์เดิมแล้วผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ ต่างๆ เพราะการที่มีความสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ นี้เองจะมีส่วนช่วยให้ ผู้เรียนมีการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้เรียนจะต้องมีระดับสติปัญญา ดีพอสมควรจึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้
อ้างอิง http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ท่องที่ชัยภูมิ

ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล
ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่
อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัด ขอนแก่น ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ โรงพยาบาลชัยภูมิ โทร. 0 4481 1005-8 ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 2516, 0 4481 1376 สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1418 สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493 สถานีตำรวจ โทร. 0 4481 1242
Link ที่น่าสนใจ สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ
http://www.chaiyaphum.go.th
อ้างอิง
http://thai.tourismthailand.org/destination-guide/chaiyaphum-36-1-1.html

การบวกจำนวนเต็ม

การบวกจำนวนเต็มชนิดเดียวกัน

หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มนั้นมาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามชนิดของจำนวนที่นำมาบวกกัน
1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก
ตัวอย่างที่ 1 10 + 12 =
ค่าสัมบูรณ์ของ 10 หรือ 10 = 10
ค่าสัมบูรณ์ของ 12 หรือ 12 = 12
ดังนั้น 10 + 12 = 10 + 12
= 22
นั่นคือ 10 + 12 = 22
ถ้าพิจารณาการบวกโดยใช้เส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 3 + 4 =
ดังนั้น 3 + 4 = 7
การใช้เส้นจำนวนในการหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มวกกับจำนวนเต็มบวกการเคลื่อนที่ของลูกศร จะไปในทิศทางเดียวกัน คือ เคลื่อนที่ไปทางขวาตลอด ดังนั้นเมื่อจบการเคลื่อนที่ ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีระยะห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากับผลบวกของระยะทางที่ทั้งสองห่างจาก 0
2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ
หลักการ คือ นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนเต็มลบ
ตัวอย่างที่ 3 (-15) + (-20) =
ค่าสัมบูรณ์ของ -15 หรือ -15 = 15
ค่าสัมบูรณ์ของ -20 หรือ -20 = 20
ดังนั้น 15 + 20 = 15 + 20 = 35
แต่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องเป็นจำนวนเต็มลบ
ดังนั้น (-15) + (-20) = -35
ถ้าพิจารณาเส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 4 (-3) + (-3) = ดังนั้น (-3) + (-3) = -6
จะเห็นว่าการเคลื่อนที่ของลูกศรจะไปในทิศทางเดียวกันคือ เคลื่อนไปทางซ้ายตลอด ดังนั้นเมื่อจบการเคลื่อนที่ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นจำนวนเต็มลบที่มีระยะห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากับผลบวกของระยะทางที่จำนวนทั้งสองอยู่ห่างจากศูนย์เราจึงสามารถสรุปเป็นวิธีการที่จะใช้ในการหาผลบวกระหว่างจำนวนเต็มลบ
สรุป
1. การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มบวก
2. การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ คือ การนำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ
การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน
หลักการ คือ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มทั้งสองนั้นมาลบกันและผล
ลัพธ์จะเป็น จำนวนเต็มบวกหรือจำนวนเต็มลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มาก
ตัวอย่างที่ 1 -9 + 5 =
ค่าสัมบูรณ์ของ -9 หรือ -9 = 9
ค่าสัมบูรณ์ของ 5 หรือ 5 = 5
นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
จะได้ -9 - 5 = 9 – 5= 4
ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนเต็มลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า
ดังนั้น (-9) + 5 = -4
วิธีสั้นๆ คือ (-9) + 5 = - ( -9 - 5 )
= - ( 9 - 5 )
= -4
ถ้าพิจารณาเส้นจำนวน ก็จะได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 5 + (-2) =
หลักการ ใช้ 0 เป็นจุดเริ่มต้น เคลื่อนไปทางขวา 5 หน่วย แล้วเคลื่อนย้อนกลับมาทางซ้าย 2 หน่วย จะหยุดที่ 3
ดังนั้น 5 + (-2) = 3
สรุป
การบวกจำนวนเต็มต่างชนิดกัน คือการนำเอาจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง แล้วลบส่วนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ เป็นจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนเต็มลบ ตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การชั่ง

เครื่องชั่ง
1.เครื่องชั่งและหน่วยที่ใช้ในการชั่ง
การชั่งแบบใช้หน่วยกลางอาจจะเปรียบเทียบได้ แต่ใช้หน่วยการวัดที่แต่กันทำให้ความเข้าใจของแต่ละคนไม่ตรงกัน จึงมีเครื่องมือมาตรฐานและหน่วยที่เป็นมาตรฐานในการวัด เช่น เครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งน้ำหนักตัว เครื่องชั่ง 2 แขน เครื่องชั่งแบบตุ้มเลื่อน เครื่องชั่งจีน เครื่องชั่งแบบหน้าปัด เครื่องชั่งเป็นเครื่องมือสำหรับชั่งน้ำหนัก ซึ่งได้รับการประทับเครื่องหมายรับรองเป็นรูปขอบนอกของครุฑ จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ลงบนเครื่องชั่งนั้น หน่วยวัดน้ำหนักที่นิยมใช้กันคือ กิโลกรัม เขียนย่อ กก. และกรัมเขียนย่อว่า ก.
2.การชั่งน้ำหนัก เป็น กิโลกรัม กรัม ขีด
ส้มหนัก 1 กิโลกรัม เข็มชี้ที่ 1 กิโลกรัม มังคุดหนัก 10 ขีด เข็มชี้ที่ 1กิโลกรัม เงาะหนัก 1,000 เข้มชี้ที่ 1 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า ส้ม มังคุด และเงาะ มีน้ำหนักเท่ากันแสดงว่า น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 1,000 กรัม น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีดน้ำหนัก 1,000 กรัม เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีดกิโลกรัม กรัม ขีด เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอก น้ำหนักของสิ่งที่ชั่ง
3.การเปรียบเทียบน้ำหนัก
ปลา หนัก 1 กิโลกรัม ไก่ หนัก 1 กิโลกรัม 5 ขีด 1 กิโลกรัม น้อยกว่า 1 กิโลกรัม 5ขีดดังนั้น น้ำหนักปลา น้อยกว่า น้ำหนักไก่
การเปรียบน้ำหนักสิ่งของนั้นควรเปรียบเทียบหน่วยกิโลกรัมก่อน ถ้าหน่วยกิโลกรัมเท่ากับ ให้เปรียบเทียบหน่วยที่เป็นกรัมหรือขีด
4.การแก้โจทย์ปัญหา
ตัวอย่างที่1 จ่อยมีเนื้อหมูหนัก 12 กิโลกรัม คิดเป็นกี่ขีด
1.ทำความเข้าใจโจทย์ จ่อยมีเนื้อหมูหนัก 12 กิโลกรัม คิดเป็นกี่ขีด
2.วางแผนและแก้ปัญหา 1กิโลกรัม เท่ากับ 10 ขีด จากโจทย์ เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้ดังนี้ 12 10 =
วิธีทำ มีเนื้อ หมู 12 กิโลกรัม1กิโลกรัมมี 10 ขีดดังนั้นจ่อยมีเนื้อหมู 120 ขีด
ตอบ จ่อยมีเนื้อหมู หนัก ๑๒0 ขีด
3.ตรวจคำตอบ
10 ขีด เท่ากับ 1 กิโลกรัม120 ขีด เท่ากับ 120 10 = 12 กิโลกรัมดังนั้นคำตอบถูกต้อง
อ้างอิง http://search.winamp.com/search/search?&query=%EF%BF%BD%EF%BF%BD%C3%AA%EF%BF%BD%EF%BF%BD&invocationType=tb50winampab

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ตัวอย่างเทคนิคคณิตคิดเลขลัด


ตัวอย่างเทคนิคคณิตคิดเลขลัด

โดย © 2009 http://SmartMathsTutor.Bloggang.com
นายเขียวกับนายขาวอยู่ห่างกัน 18 กม. และต่างก็ขับรถยนต์เข้าหากันด้วยความเร็ว 48 และ 60 กม.ต่อชั่วโมงตามลำดับ ทั้งสองออกเดินทางพร้อมกัน นานเท่าใดทั้งสองคนนี้จะพบกัน

วิธีคิด (สอนให้วาดรูป แล้ววิเคราะห์ปัญหาจากความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ฝึกคิดนอกกรอบและประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้เป็น) ตามความเป็นจริง นายเขียวและนายขาวจะต้องมาพบกัน ณ. เวลาเดียวกัน (โดยใช้เวลาเท่ากัน T นาที) แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ ระยะทางและความเร็วลองวาดรูปดูก่อน

เราพบว่า
ระยะทางที่นายเขียวใช้ + ระยะทางที่นายขาวใช้ = 18 กม.จาก
V = S/T (ความเร็ว = ระยะทาง / เวลา)
จะได้ว่า S = V * T (ระยะทาง = ความเร็ว * เวลา)

(48 * T) + (60 * T) = 18 สังเกตว่าทุก term หน่วยเป็นกม.
108 * T = 18
T = (18 / 108)
= 1/6 ชั่วโมงในเวลา 1 ชม. เท่ากับเวลา 60 นาที
ถ้า 1/6 ชม. ก็จะเท่ากับเวลา [(1/6) * 60] / 1 = 10 นาที

อ้างอิงhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=smartmathstutor&date=26-08-2009&group=9&gblog=4

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ใบงานที่1.นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1.ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
-ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้
เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
อ้างอิง
http://www.geocities.com/jatuponlimtakul/jitavitaya.htm
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ ข้อความรู้ที่บรรยาย อธิบาย พรรณนา ทำนาย ปรากฏการต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยอมรับ ว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้

2.มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้
-กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) คือ มนุษย์ไม่ดี ไม่เลว การกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงของสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ให้ความสนใจพฤติกรรม เพราะ เห็นได้ชัด วัดได้ ทดสอบได้
-กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism) คือเน้นกระบวนการทางปัญญา กระบวนการ ความคิด เป็นกระบวนการภายในสมอง เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด สะสมข้อมูล สร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูล ดึงข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหา
-กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) คือ ให้ความสำคัญของมนุษย์ มองมนุษย์มีค่า มีความดีความงาม ต้องการพัฒนา ศักยภาพ หากได้รับอิสรภาพ เสรีภาพ จะพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
-กลุ่มผสมผสาน(Eclecticsm) คือ Cagne นำ Behaviorism และ Cognitivism มาผสมผสานมีหลักการจัดการเรียนรู้ 9 ขั้น สสร้างความสนใจ แจ้งจุดประสงค์ กระตุ้นความรู้เดิม เสนอบทเรียนใหม่ ให้แนวทางการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ แจ้งข้อมูลย้อนกลับ ประเมินพฤติกรรมตามจุดประสงค์ ส่งเสริมความแม่นยำ

ทฤษฏี หลักการ และแนวคิด
-ทฤษฎีของฮัลล์ ( Hull)
1.กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง
2.กฎแห่งการลำดับกลุ่ม
3.กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย
-ทฤษฎี ของเกสตัลท์ ( Gestalt)
1.กฎแห่งความใกล้ชิด
2.กฎแห่งความคล้าย
3.กฎแห่งความสมบูรณ์
4.กฎแห่งความต่อเนื่องที่ดี
-ทฤษฎีของทอลแมน ( Tolman )
1.ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล
2.ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายจะต้องเกิดการเรียนรู้กฎหมาย
3.ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่ทำซ้ำ ๆ ตามวัตถุประสงค์ของตนเอง
4.การเรียนรู้บางอย่างอาจยังไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที
-ทฤษฎีของรอเจอร์ ( Roger )
1.จัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้
2.เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.การเรียนจะเน้นกระบวนการ

-การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ เมเยอร์
1.พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตในสื่อการเรียนได้
2.เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไข เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการเข้าใจได้ง่ายขึ้น
3.มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
-พหุปัญญา หรือ เชาว์ปัญญา 8 ด้าน
1.ปัญญาด้านภาษา คือ การสื่อความหมายด้านภาษาให้ผู้ฟังได้ดีและเข้าใจ
2.ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น นักบัญชี นักสถิติ
3.มิติสัมพันธ์ คือ เป็นการรับรู้ทางสายตาได้ดี เช่น จิตรกร วาดรูป
4.ด้านร่างกายและเคลื่อนไหว คือ เน้นการสื่อในการคิด และความคล่องแคล่วอย่างว่องไว
5.ด้านดนตรี คือ ด้านการรับรู้
6.ด้านมนุษย์สัมพันธ์ เช่น ครูอาจารย์ เชล
7. ด้านการเข้าใจตนเอง คือ รู้จักตระหนักในตนเอง ควบคุมตนเองตามการแสดง เช่น นักวิจัย นักปราชญา
8.ด้านธรรมชาติวิทยา เช่น นักธรณีวิทยา นักวิจัย
-ทฤษฎีการผสมผสานของกานเย โดยมีหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ผู้สอนจะต้องมีความเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อสร้างความสนในให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ให้กับผู้เรียน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสร้างความสนใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น
ขั้นที่ 4 เสนอแบบเรียนใหม่ คือ ในเรื่องที่ผู้สอนจะเรียนนั้น
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ คือ ให้ผู้เรียนออกไปเรียนรู้ในห้องสมุดหรือนอกห้องเรียน
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ คือ ให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัด
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ ผู้สอนจะต้องเฉลยแบบฝึกหัดเพื่อช่วยแก้ไขข้อที่ทำไม่ได้
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ คือผู้สอนจะต้องมีการทดสอบผู้เรียนในเรื่องที่สอนเพื่อให้นักเรียนขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำ และการถ่ายโอนการเรียนรู้
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%
สรุปการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎี คือ การนำเอาแต่ละทฤษฏีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ การเกิดประสบการณ์เมื่อมนุษย์ ได้รับกระทบสัมผัสจากสิ่งเร้าต่างๆ ผ่านทางอวัยวะรับสัมผัส และตัวรับสัมผัส เช่นน้ำมะนาว หยดลงบนลิ้น จะเกิดการเรียนรู้ และตีความหมายแห่งการสัมผัสนั้นๆ
3.นวัตกรรม คือ “นว” หมายถึง ใหม่ “กรรม” หมายถึง ความคิดและการกระทำ นวกรรม จึงหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ทางการศึกษา บางสิ่งบางอย่างทางการศึกษา ยังอาจอยู่ในรูปของความคิด-ความที่จะทำอะไรให้มันดีขึ้น แต่ยังไม่ได้เอาไปใช้ เช่น คิดจะให้นักเรียน เรียนบางอย่างด้วยตนเองจากบทเรียน โปรแกรม (ประดิษฐ์ ฮวบเจริญ : 145: เทคโนโลยีทางการศึกษา)
นวกรรม(innovation) จึงจำแนกตามรากศัพท์มาจากคำว่า นว+กรรม
นว หมายถึง ใหม่กรรม หมายถึง วิธีการ หลักปฏิบัติ หรือแนวความคิด
ดังนั้น นวกรร หมายถึง วิธีการหลักการปฏิบัติ หรือแนวคิดใหม่ๆ
-มอร์ต้น(J.A Morton) กล่าวว่านวกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หมายถึงการปรับปรุงของเก่า และพัฒนาศักยภาพของบุคคลกรตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้นๆ -นวัตกรรม หมายถึง เป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลง จากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น -นวัตกรรม (innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hughes) กล่าวว่า นวัตกรรมการนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลักจากการได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆ(รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:245:เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม)
-ไมลส์ แมทธิว (Miles Matthew) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การเปลี่ยนแปลง แนวความคิด อย่างถี่ถ้วน เป็นการเปลี่ยวแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพสุงขึ้น
อ้างอิง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fb179ae33990cba&clk=wttpct
http://jange1979.multiply.com/journal/item/4/4
สรุปนวัตกรรม คือการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลง จากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในบางครั้งเราไม่สามารถนำนวัตกรรมไปใช้ได้ทุกหนแห่งเสมอไปทั้งนี้เพราะในสถานที่แต่ละแห่งย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของทรัพยากร

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร
นัวตกรรมทางการศึกษา(Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างราดเร็วมีประสิทธิภาพสูง กว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วย นวัตกรรมเหล่านั้น ได้ประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ อ้างอิง รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:246: เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม
นวกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิด หรือการกระทำสิ่งใหม่ๆดังนั้น นวกรรมทางการศึกษาก็คือ ความคิดหรือสิ่งใหม่ๆ ทางการศึกษาข้อความที่ว่า ความคิด หรือสิ่งใหม่ๆนั้นมีความหมายกวางขวางมากเพียงใด เราน่าจะมาทำความเข้าใจกับข้อนี้เสียก่อน เปรื่อง กุมุท ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความ ที่กล่าวนี้พอสรุปได้ว่าความคิด หรือสิ่งใหม่ๆ นั้นอาจเป็นหลายสถานะ ดังนี้
1.ความคิด หรือสิ่งใหม่ๆ บางอย่างและมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล้านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถแก้ไขปัญหาทางการศึกษา
2.ความคิด หรือการกระทำสิ่งใหม่ โดยอาจเก่ามาจากที่อื่น
3.ความคิดหรือ การกระทำสิ่งใหม่ ทั้งๆที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้ว แต่ไม่บังเกิดผล อาจเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย
อ้างอิง วาสนา ชาวหา: 17: เทคโนโลยีทางการศึกษา
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง:246: เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม
-สรุปนวัตกรรมทางการศึกษา คือนวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนอีกด้วย

5.เทคโนโลยี หมายถึง อะไร
-เทคโนโลยี(Technolgy) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า Teckne หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ (ar,science,orskil) และจากภาษาลาติน ว่า Texere หมายถึงการสาน หรือการสร้าง (to weave or to construct )พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ เทคโนโลยีหมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการปฏิบัติ และอุตสากรรมปกติแล้วเมือกล่าวคำว่า เทคโนโลยี คนทั้วไปมักนึงถึงสิ่งที่เกี่ยงกับเทคนิควิธีสมัยใหม่
-เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบ ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมได้ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในการปฏิบัติ
-เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการ แนวทาง หรือวิธีการในการคิด ในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (James D Finn)
-เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในสาขาวิชา ต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (carter V. Good, Dictionary of Education )
-เทคโนโลยีคือ การศึกษาว่าทำอย่างไร จึงสามารถนำเอาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ มาปฏิบัติในสถานการณ์ ที่เป็นจริงได้ (The Holt Banc Dictionary of American English )
-เทคโนโลยี คือ ความรู้และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยปกติใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมแต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ กิจการใดๆ ก็ได้ (Mcgraw-Hill Encyclopedia of science and Technoiogy)
-เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ อันใดจัดระเบียบดีแล้ว ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย (John Kenneth Galbralth) ได้เสนอไว้ 3ประการ
1.เป็นการให้ความรู้ที่มีเหตุผล เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางปฏิบัติ
2.เป็นระเบียบ วิธี กระบวนการ ความคิดเห็น หรือ ปรับปรุงวิธีการเดิม
3.เป็นการนำเอาวัสดุ หรือ จุดมุ่งหมาย มาบริการความต้องการของสังคม
-บราวน์ (Brown ) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
-เดล (Dale) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีเป็นแผนการ หรือวิธีการทำงานอย่างมีระบบ เพื่อให้บรรลุผล
-Webster”s New Collegiate Dictionary ของเมอร์เรี่ยม (Merriam) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี เป็น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิธีการเทคนิค ที่มุ่งให้เกิดผล สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
-เทคโนโลยี หมายถึง การดัดแปลงเอาผลิตผลขบวนการวิธี หรือระบบที่ใช้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในงาน สร้างพฤติกรรมที่ดี หรือเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี จนเป็นที่ยอมรับของสังคมให้เกิดขึ้นแก่คน
อ้างอิง (ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต :57 :เทคโนโลยีกับการศึกษา)
อ้างอิง
http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm
สรุปเทคโนโลยี คือ การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิด กระบวนการ วิธีการ เทคนิค ตลอดจนอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ มาใช้ เพื่อใช้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูง
6.เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึง
เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย) ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
- เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
- เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
สรุปเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยพัฒนา ทางด้าน ไอที และ การสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดีย

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสารเทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อ้างอิง http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=8080.0
http://school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm
สรุปบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา คือ เป็นเครื่องมือและตัวกลางให้ได้รับรู้เรื่องราวได้เร็ว ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยทั้งทางด้านบริหารจัดการ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารสังคม
8.สื่อการสอน
-สื่อ หมายถึง ตัวกลางหรือพาหะที่ให้นำเรื่องราว หรือความรู้ ของผู้ส่งสารหรือครูไปสูงผู้รับ หรือนักเรียน
-สื่อการสอน (Instructionai media ) อาจหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี (ประดิษฐ์ ฮวบเจริญ :145 : เทคโนโลยีทางการศึกษา)
-สื่อ(medium,pl.media )เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า medium แปลงว่า ระหว่าง between หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่ง และผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตามวัตถุจุดประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน จึงเรียกว่า สื่อการสอน จึงหมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ ฯลฯ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิด การเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ เป็นอย่างดี
-สื่อการสอน ถือว่าเป็นขบวนการถ่ายทอดความคิด เรื่องราว ข่าวสาร ตลอดจนประสบการณ์ และทัศนคติ ระหว่างบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ส่งข่าวสาร เรื่องราวที่ส่งและผู้รับสาร โดยผู้ส่งและผู้รับ อาจมีจำนวนมากน้อย ก็ได้ (ดร.เฉลิมรัฐ ขัมพานนท์:57: เทคโนโลยีทางการศึกษา)
-สื่อการสอน หมายถึง เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สื่อความหมาย จัดโดยครูและ นักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน อาทิ หนังสือ โสตทัศน์วัสดุ เช่น ฟิลัมสตริป สไลด์ แผนที่ ฯลฯ ของจริง และทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น (Louis Shores ,1960 )
-บราวน์ และคณะ ( Brown and others, 1983 ) ได้กล่าวว่าสื่อการสอนได้แก่อุปกรณ์ทั้งหลาย ที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนทำให้เกิดผลการเรียนที่ดี ซึ่งรวบไปถึงกิจกรรมต่างๆได้เฉพาะ แต่สิ่งที่เป็นวัสดุ หรือ เครื่องมือเท่านั้น เช่น การไปศึกษานอกสถานที่ การสำรวจ - สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
· นำอดีตมาศึกษาได้
· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
อ้างอิง
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/index0.html
http://blog.spu.ac.th/ssong/2008/05/09/entry-1
-สรุปสื่อการสอน คือ เป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ ซึ่ง ครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อช่วยการสอน และการเรียนมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยครูถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะ เจตคติ ความรู้ และความซาบซึ่งไปยังผู้เรียน

9.สื่อประสม คืออะไร
-สื่อประสมสื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลายๆประเภทมาประยุกต์ใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถแสดงในรูปของ ตัวอักษร เสียง รูปและภาพเครื่องไหวเข้าด้วยกันเป็นสื่อเดียวโดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ มัลติมีเดีย ยังเป็นสื่อประสมที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ของคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้มากขึ้น มีความสามารถในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น คือสามารถแสดงตัวอักษรหรือข้อความภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมๆ กัน
-สื่อประสมคือการนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่างใส ฯลฯ

อ้างอิง (รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : 255: เทคโนโลยีการศึกษา)
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=204868ad4f684fd6
http://www.kroobannok.com/blog/1916
สรุปสื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา

10.รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
-สื่อหลายมิติ คือการเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง ได้อย่างทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่งสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ
-รูปแบบสื่อหลายมิติ หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน โดยพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียน ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดทีนำเสนอให้แก่ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ประวัติหรือแฟ้มข้อมูลของผู้เรียน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล ลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
1.1 แบบไม่มีโครงสร้างคือ เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม
1.2 แบบเป็นลำดับขั้นคือ เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้นมีโครงสร้างเป็นลำดับแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้น
1.3 แบบเครือข่ายคือ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่าย พึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ
2. รูปแบบของผู้เรียนคือ เป็นการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมของกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของสื่อหลายมิติ
2.1 แบบปรับปรุง (Accommodators) ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ๆ ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก
2.2 แบบคิดเอกนัย (Converges) ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์ ชอบทำงานกับวัตถุมากกว่าบุคคล ชอบอ่าน ชอบวิจัย
2.3 แบบดูดซึม (Assimilators) ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเจาะลึก มีความอดทน และเพียรพยายามที่จะศึกษาหาข้อมูล
2.4 แบบอเนกนัย (Divergers) ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ชอบเรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม
3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผู้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยรูปแบบการปรับตัวสรุปได้ดังนี้
3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการปรับเปลี่ยนในระดับเนื้อหา คือ ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเพื่อนำเสนอข้อมูลที่แต่ต่างออกไป
3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว เป็นแนวคิดเพื่อช่วยสนับสนุนกันเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้าเพื่อให้ผู้เรียนสามรถติดตามเนื้อหาได้โดยไม่หลงทาง จากแนวคิดนี้มีวิธีการสนับสนุนหลายแบบดังนี้
3.2.1 การแนะโดยตรง เป็นระบบที่ง่ายที่สุด
3.2.2 การเรียงแบบปรับตัว เป็นแนวคิดในการจัดเรียงหน้าของเนื้อหาให้เป็นไปตามโมเดลของผู้เรียน
3.2.3 การซ่อน เป็นแนวคิดที่จะซ่อนหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
3.2.4บรรณนิทัศน์ปรับตัว เป็นแนวคิดที่จะเสริมเนื้อหาเพิ่มเข้าไปเพื่ออธิบายภาพรวมของแต่ละหน้า
อ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ , 2540
ณัฐกร สงคราม . (2543). อิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้างของโปรแกรมการเรียนการ สอนผ่านเว็บที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . วิทยานิพนธ์ ค.ม. ( โสตทัศนศึกษา) . กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
วัฒนา นัทธี ..2547. ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษาวารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 7 เดือนตุลาคม 2547
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง . 2545. สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน. เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์. กรุงเทพฯ.
http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72
สรุปรูปแบบสื่อหลายมิติ สื่อหลายมิติเป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สื่อหลายมิติเป็นการขยายแนวคิดอันเป็นผลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสาน สื่อ อุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานเข้าด้วยกัน

บรรณานุกรม


วารินทร์ รัศมีพรหม,ผศ.ดร. . เทคโนโลยีทางการศึกษา. พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. 2531.
กิดานันท์ มลิทอง,รศ.ดร. . สื่อการสอน . พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. 2543.
วาสนา ชาวหา . เทคโลยีทางการศึกษา. พิมพ์ที่อักษรสยามการพิมพ์ . 2522 .
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ , 2540
ณัฐกร สงคราม . (2543). อิทธิพลของแบบการคิดและโครงสร้างของโปรแกรมการเรียนการ สอนผ่านเว็บที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . วิทยานิพนธ์ ค.ม. ( โสตทัศนศึกษา) . กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
วัฒนา นัทธี ..2547. ปัญญาประดิษฐ์ทางการศึกษาวารสารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. ฉบับที่ 7 เดือนตุลาคม 2547
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง . 2545. สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน. เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์. กรุงเทพฯ.
http://www.geocities.com/jatuponlimtakul/jitavitaya.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fb179ae33990cba&clk=wttpct
http://jange1979.multiply.com/journal/item/4/4
http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm

http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=8080.0
http://school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=204868ad4f684fd6
http://www.kroobannok.com/blog/1916
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/index0.html
http://blog.spu.ac.th/ssong/2008/05/09/entry-1
http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72
http://www.edtechno.com/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=48:-adaptive-hypermedia-&catid=44:webmaster&Itemid=72

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

การเขียนโครงการ


ขั้นตอนในการเขียนโครงการ

1. ชื่อแผนงาน
2. ชื่อโครงการ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์
5. เป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
11. การประเมินผล
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การวางแผนและการเขียนโครงการ
ความหมายของการวางแผน

มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น การวางแผน คือ การมองอนาคต การเล็งเห็นจุดดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดีที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมินผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และไครทำ
การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ

- อนาคต - การตัดสินใจ - การปฏิบัติ
ความสำคัญของการวางแผน

ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามองในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิดก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษาหรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร
การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมใน ปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทาง ที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา
2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อ ประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้

3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด
4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่าย ต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ
ประเภทของแผน
เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผนแต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ
1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไป อย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้ แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี
2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเน ว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อย เพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผน พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร เป็นต้น
3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา ได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้ ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัด ทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบ ประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้ ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอด เงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบ ประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้อง ปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติ การประจำปีขึ้น
ความหมายของโครงการ
พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่งช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้ โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต โครงการโดยทั้วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการพัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น
องค์ประกอบของโครงการ
องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศ ทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้
2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจน ชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการ ตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผน อื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ
บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น

4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะ หลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์ มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจ จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้ เพียง 1-3 ข้อ
5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการ ดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้ว นำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุด ท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน 2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่าง ชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ
9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ หรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการ นั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการ อย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียม โครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป
12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับ เรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้ลักษณะโครงการที่ดี
โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้

1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ - โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้อง กับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
- ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น
5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม โครงการได้
6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้

อ้างอิง
http://www.kiriwong.net/nakhonsawan/km5.htm

ค่าวิตามินซิแนรมิตความสวย..........แบบไม่เสี่ยง

ค่าวิตามินซีแนรมิตความสาวสวย...แบบไม่เสี่ยง

ปัจจุบันนี้ วงการความงามมักจะหาอะไรมาช่วยเสริมกับความต้องการของผู้ที่รักความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบอาหาร หรือวิตามินต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้รูปแบบของวิตามินมีการพัฒนาไปมาก เพราะวิตามินซีช่วยเสริมสร้างปราการด่านแรกให้กับผิวสวย
โดยในวิตามินมีสารธรรมชาติในรูปของกรดแอสคอบิค (Ascorbic acid) ที่พบได้ในผักใบเขียว และผลไม้ อาทิ ส้ม ฝรั่ง องุ่น สตรอเบอร์รี่ มะละกอ แคนตาลูป กะหล่ำปลี บล็อคโคลี่ พริกหยวก ฯลฯ และเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในน้ำ แถมยังมีประโยชน์กับร่างกายมากมาย อาทิช่วยปกป้องเซลล์ ป้องกันโรคมะเร็ง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยเฉพาะใครที่เป็นหวัดเมื่อรับวิตามินชนิดนี้แล้ว ก็ช่วยทุเลาอาการและป้องกันหวัดได้
อีกหนึ่งคุณสมบัติของวิตามินซีอันโดดเด่นที่ครองใจสาวๆ ทุกยุคสมัย คือวิตามินซีมีสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ (antioxidant) ที่ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดสีเมลานินจางลง ส่งผลให้ผิวพรรณสดใส ไร้ริ้วรอย ทั้งยังช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่า ช่วยฟื้นฟูผิวให้เนียนนุ่ม เปล่งปลั่งสดใส และบรรเทาอาการอักเสบของผิวเมื่อถูกแสงแดด
สำหรับปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้รับประทานเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพต้องรับประทานอย่างน้อย 10-200 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนคนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคชรา ควรรับประทาน 250 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แม้วิตามินซีจะมีในรูปของยารับประทาน แต่เพื่อให้เห็นผลต่อผิวหนังโดยตรง วงการเครื่องสำอางปัจจุบันประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่ จึงนำวิตามินซีมาเป็นส่วนผสมหลัก ให้ช่วยฟื้นฟูคอลลาเจนและต่อต้านริ้วรอย เพื่อให้ผิวหนังได้ซึมซับวิตามินซีได้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มความงามของผิวพรรณของสาวในยุคทันสมัยแหล่งที่มา : www.thaihealth.or.th

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ทำอย่างไรจึงจะเกงคณิตศาสตร์


ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์

เหตุผลหนึ่งที่มำให้นักเรียนประสบปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ นักเรียนไม่ทราบว่า "จะเรียนคณิตศาสตร์อย่างไร"กุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ " นักเรียนต้องฝึกฝนทำคณิตศาสตร์เป็นประจำ " ฟังดูแล้วไม่น่าแปลกอรเลยเพราะว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะ การเรียนคณิตศาสตร์เหมือนเรียนเปียโน หากขาดการฝึกซ้อมก็คงเป็นนักเปียโนที่เก่งไม่ได้การทำโจทย์เลขทุกวันจะช่วยให้นักเรียนเก่งเลข
นอกจากนี้ ยังมีข้อคิดอื่นๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ กล่าวคือ

1.การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
2.เมื่อไม่เข้าใจอะไรก็ถามครูผู้สอนทันที
3.ศึกษาอ่านตำราเองเพิ่มเติม
4.ก่นที่จะลงมือทำการบ้าน ควรทบทวนความรู้ที่ครูสอนมาแล้วทุกครั้ง
5.ทำการบ้านหลังจากศึกษาอ่านตำราเพิ่มเติม
6.ทำงานด้วยความประณีต
7.หลังจากทำการบ้านเสร็จแล้ว ควรทบทวนตำราอีกครั้ง
8.ลองทำแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนไปแล้ว
9.เก็บรวบรวมข้อสอบที่ครูได้ทำการทดสอบย่อยๆไว้แล้วนำมาทบทวนอีกภายหลัง
10.ไม่ต้องวิตกกังวลหากยังไม่เข้าใจเนื้อหาใหม่ๆ ให้อ่านตำราและศึกษาเพิ่มเติมให้มาขึ้น

นั่นก็เป็นข้อคิดของ Margaret L.Lial และ E.John Homsby, Jr. ที่แนะนำนักเรียนในการเรียนคณิตศาสตร์ในตำราBeginning Algebra ซึ่งผู้เรียบเรียงหวังว่าข้อคิดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กไทยเช่นกัน จำไว้อย่างหนึ่งว่า การเรียนคณิตศาสตร์
นั้นนอกจากนักเรียนจะต้องเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแล้ว ก็จะต้องให้เกิดทักษะด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ เพราะสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้ทุกเมื่อ การฝึกทักษะคณิตศาสตร์เป็นประจำจะช่วยให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เช่นกัน และก็จะเป็นกุญแจสำคัญนำนักเรียนไปสู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ขอให้นักเรียนหมั่นฝึกฝนทำโจทย์เลขเป็นประจำ จะได้ประสบความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์กันทุกคน


ที่มา : http://www.aksorn.com/article/article_detail.php?content_id=51

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โจทย์คณิตชวนคิด
1.โยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ99ครั้ง พบว่าออกหัว55ครั้ง ออกก้อย44ครั้งถ้าโยนเหรียญบาทเพิ่มอีก1ครั้งโอกาสที่เหรียญ จะออกก้อยเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

วิธีทำ เป็นปัญหาเชาว์นะครับ เนื่องจากเหรียญที่โยน 1 ครั้งมีโอกาสออกไม่ออกหัว
ก็ออกก้อย ดังนั้นเป็น 50%:50% ไม่ว่าจะเพิ่มอีกกี่ครั้งก็จะออกหัว
50 % ออกก้อยอีก 50 %

ตอบ 50%
ขอบคุณสำหรับข้อสอบดีๆจาก
http://www.penguin-utd.com/archives/192


2.ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเท่ากับ 10% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยฝากออมทรัพย์เท่ากับ 7.5% ต่อปี ณัฐดนัยฝากประจำเป็นเงิน 120,000 บาท อยากทราบว่า ณัฐดนัยจะต้องฝากออมทรัพย์เป็นจำนวนเท่าไหร่จึงจะได้ผลตอบแทน 9% ของเงินฝากทั้งหมด
ก.10,800
ข.12,000
ค.48,000
ง.80,000
จ.100,000


ตอบ 80,000

3.พจน์ที่ 12 ของอนุกรม 1,2,3,5,7,11,13,17,… มีค่าเท่าใด

ก.31
ข.29
ค.27
ง.21
จ.มีคำตอบใดถูกต้อง
วิธีทำ

ข้อนี้เป็นอนุกรมเลขคณิตเปล่าหว่า เอ๊ะ ไม่ใช่ พจน์ขวา-พจน์ซ้ายมันไม่เท่ากันอนุกรมเรขาคณิตก็ไม่ใช่นิ พจน์ขวา/พจน์ซ้ายก็ไม่เท่ากัน ที่เรียนมาก็หมดแล้วนิ จาทำไง ก็ใช้การสังเกตครับ จากอนุกรมที่ให้มาจะเห็นว่าเลขทั้งหมดจะเป็นจำนวนเฉพาะคือตัวมันเองและ 1 ที่หารลงตัว ดังนั้นพจน์ที่ 12 ก็ไล่เลย 1,2,3,5,7,11,13,17,19,23,29,31,…ได้ละ 31
ตอบ 31

4.ข้อห้า คนงาน 3 คน รวมกันทำงานใช้เวลา 18 ชั่วโมงจึงจะแล้วเสร็จ ถ้า 4 คนช่วยกันทำ จะใช้เวลากี่ชั่วโมงจึงจะเสร็จ
ก.27 ข.24 ค.15.5 ง.13.5 จ. 12


วิธีทำ
1.สงสัยเทียบบรรญัติไตรญางค์ธรรมดาคน 3คนใช้เวลา 18ชั่วโมงคน 4 คนใช้เวลา24ชั่วโมง จาบ้ารึ 4 คนทำได้ 24 ชั่วโมง บ้าที่สุด แล้วจะเพิ่มคนทำไมถ้าได้เวลา มากกว่าเดิมข้อนี้คือการเทียบสัดส่วนผกผันวิธีการทำคือ

1.เอาสิ่งของสิ่งเดียวกัน เข้าอัตราส่วนกัน
2.โจทย์ถามหาสิ่งใดให้เป็น x
3.ถ้าสิ่งใดเป็นสัดส่วนตรงไม่ต้องกลับอัตราส่วน แต่ถ้าสิ่งใดเป็นสัดส่วน ผกผัน ก็จะกลับอัตราส่วน
4.ใช้หลักของสัดส่วน
เอา คนไว้กับคน ชม.ไว้กับชม. โจทย์ถามหาชม.ให้เอาชม.ไว้กับชม.ทางซ้ายมือ และตัวแปรไว้ทางขวามือ แล้วเรารู้ว่าถ้าชม.ลด คนต้องเพิ่ม ชม.เพิ่ม คนลดจึงเป็นสัดส่วนกลับจึงต้องกลับคน
ชม. : ชม. คน : คน 18 : x 3 : 4
ต้องกลับคนเพราะสัดส่วนกลับเป็น
18 : x 4 : 3
เป็นสมการได้ ได้ x =13.5
ตอบ 13.5 ครับ
ที่มา
http://www.penguin-utd.com/archives/category



5.เด็กคนหนึ่งเกิดในเดือนกันยายน เขาบอกเพื่อนคนหนึ่งว่าวันเกิดของเขาเป็นพหุนามของเลข 3 หรือสอดคล้องกับสมการ x3 – 10x2 +27x -18 = 0 จงหาความน่าจะเป็นที่เพื่อนทายวันเกิดของเขาได้ถูกต้อง
ก. 1/11
ข. 2/3
ค. 11/15
ง. 11/30

วิธีทำการที่เด็กบอกลักษณะวันเกิดของเขาให้กับเพื่อนก็เเสดงว่าวันเกิดของเขาที่เพื่อนควรจะทายนั้นต้องเป็นวันใดวันหนึ่งในวันเหล่านั้น นั่นคือเป็นการบอกจำวนวนสมาชิกของเเชมเปิลสเปซนั่นเองพิจารณาวันที่เป็นพหุคูณของ 3 วันเหล่านี้ก็คือวันที่มี 3 เป็นตัวคูณร่วม ซึ่งได้เเก่ 3 6 9 12 15 18 21 24 27 30
พิจารณาตัวเลขที่สอดคล้องกับสมการ x3 -10x2 +27x – 18 = 0
( x-1 ) ( x-3 ) ( x-6 ) =0
X = 1 ,3 ,6
เนื่องจาก 3 , 6 เป็นพหุคูณของ 3 ซึ่งซ้ำกับกรณีเเรก ดังนั้นวันที่ควรจะเป็นวันเกิดของเด็ก คือ 1 3 6 9 12 15 18 21 24 27 30
ซึ่งมีทั้งหมด 11 วัน
ดังนั้นความน่าจะเป็นที่เพื่อนจะทายวันเกิดได้ถูกต้อง = 1/11
ตอบ 1/11

ที่มา หนังสือคณิตศาสตร์ ม. 4- 5-6



วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โจทย์คณิตศาสตร์วันที่26 ส.ค 2552

โจทย์คณิตศาสตร์ชวนคิด

1.สามีภรรยาคู่หนึ่งมีลูกอยู่ 2 คน มีทรัพย์สินอยู่ 10 อย่าง โดยที่ ถ้าจัดกลุ่มตามมูลค่าที่ใกล้เคียงกันจะแบ่งได้ 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งมี 4 อย่าง กลุ่มที่สองมี 6 อย่างและได้เขียนพินัยกรรมโดยระบุว่าลูกคนโตได้ทรัพย์สินจากกลุ่มที่หนึ่ง 2 อย่าง และจากกลุ่มที่สอง 3 อย่าง ผู้จัดการมรดกจะแบ่งทรัพย์สินให้ลูกคนโตได้กี่วิธี
1. 120
2. 240
3. 252
4. 1440

เฉลย ข้อ 1.
วิธีทำ ผู้จัดการมรดกจะแบ่งทรัพย์สินให้แก่ลูกคนโตตามลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกทรัพย์สินจากกลุ่มที่หนึ่ง 2 อย่างได้ 4C2 วิธี
ขั้นตอนที่ 2 เลือกทรัพย์สินจากกลุ่มที่สอง 3 อย่าง ได้ 6C3 วิธี
เพราะฉะนั้นผู้จัดการมรดกแบ่งให้ลูกคนโตได้ 4C2 + 6C3 = 120 วิธี
-----------------------------------------------------------------------------------------
2.บริษัทแห่งหนึ่งมีงานว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง ที่แตกต่างกัน ถ้ามีผู้สมัครเข้าทำงาน 4 คน คือ ก ข ค ง เมื่อทำการสัมภาษณ์แล้ว ปรากฏว่าคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ 1 คือ ก ข ค คนที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ 2 คือ ข ค ง ข้อใดต่อไปนี้เป็นจำนวนวิธีที่แตกต่างกัน ที่บริษัทจะบรรจุคนเข้าทำงาน โดยให้คนเหมาะสมกับงาน
1. 9
2. 7
3. 6
4. 3
เฉลย ข้อ 2.
กรณีที่ 1 ตำแหน่งที่ 1 บรรจุ ก เข้าทำงานได้ 1C1 . 3C1 = 3วิธี
กรณีที่ 2 ตำแหน่งที่ 1 บรรจุ ข หรือ ค เข้าทำงานได้ 2C1 . 2C1 = 4 วิธี
วิธีที่บรรจุคนเข้าทำงานได้ทั้งหมด 3+4 = 7 วิธี
---------------------------------------------------------------------------------
3.จำนวนวิธีจัดผู้ชาย 3 คน และผู้หญิง 4 คนให้นั่งในแถว โดยที่ผู้ชายจะนั่งในตำแหน่งเลขคู่เสมอมีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
1. 12
2. 144
3. 288
4. 5040

เฉลย ข้อ 2.
วิธีทำ ขั้นตอนที่ 1 จัดผู้หญิง 4 คนอยู่ในตำแหน่ง 1 3 5 7 ทำได้ 4! วิธี
ขั้นตอนที่ 2 จัดผู้ชาย 3 คนให้อยู่ในตำแหน่ง 2 4 6 ได้ 3! วิธี
จำนวนวิธีจัก เท่ากับ 4!3! = 144 วิธี
-----------------------------------------------------------------------------------------
4.ในการแข่งขันฟุตบอลของทีมโรงเรียนต่างๆ จำนวน 50 ทีม ถ้าจัดการแข่งขันแบบพบกันหมดจำนวนครั้งของการจัดการแข่งขันทั้งหมดจะเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
1. 1176
2. 1225
3. 2450
4. 2540
เฉลย ข้อ 2
วิธีทำ 50C2 = 1225 วิธี
-----------------------------------------------------------------------------------------
5.เด็กชายดำมีหนังสือการ์ตูน 7 เล่ม เด็กหญิงแดงมีหนังสือการ์ตูน 9 เล่ม เด็กทั้ง 2 ต้องการแลกหนังสือคนละ2 เล่มจะมีวิธีแลกทั้งสิ้นกี่วิธี
เฉลย 756 วิธี
วิธีทำ ขั้นตอนที่ 1 เด็กชายดำเลือกหนังสือ 2 เล่มจาก 7 เล่ม ทำได้ 7C2 = 21
ขั้นตอนที่ 2 เด็กหญิงแดงเลือก 2 เล่มจาก 9 เล่ม ทำได้ 9C2 = 36
เด็กทั้ง 2 มีวิธีแลกหนังสือเท่ากับ 21 . 36 = 756วิธี
ขอขอบคุณ http://14315.multiply.com/journal/item/1/1

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วัยรุ่นกับความสัมพันธ์ชายและหญิง

วัยรุ่นและสัมพัธภาพในชายและหญิง

จากสถิติจะเห็นว่า ทุกวันนี้เด็ก ๆ เริ่มเรียนรู้กับเพศศึกษาเร็วขึ้น และไม่มีการดูแลให้ได้รับความรู้ที่ ถูกต้องอย่างทั่วถึงและพอดี จึงก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควรของนักเรียน ปัญหาการจับคู่อยู่กันอย่างสามี-ภรรยาในหอพักของนักศึกษา ปัญหาการตั้งครรภ์ ปัญหาโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์ ปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากการหึงหวง ปัญหาการฆ่าตัวตาย และโรคซึม เศร้าหรืออื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
ลองมาดูบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงจากกลอนในบทนี้ดู แล้วคุณจะรู้ว่า การที่คุณผ่าน ร้อนผ่านหนาว หรือ ผ่านน้ำร้อนมาก่อนพวกเด็ก ๆ ไม่ได้รับประกันว่า คุณจะต้องเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหา ให้พวกเขาได้ในทุก ๆ เรื่องเสมอไป
สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กเองหรือพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ที่เคารพ หรือ แม้แต่ผู้มีอำนาจในสังคมทั้งหลาย ต้องหันมามองและเข้าใจในธรรมชาติของปัญหาให้มากขึ้น แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ให้ความรักความอบอุ่นในครอบครัวอย่างเพียงพอ ทุกสิ่งทุกอย่างจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแน่นอน
ลักษณะความสัมพันธ์ของชายหญิงในสมัยก่อนกีบในปัจจุบันก็มีความแตกต่างเช่นเดียวกัน เพราะมี ความคิดว่าฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายเสียหายได้ง่ายและสังคมในสมัยนั้นเป็นสังคมที่แคบ สมาชิกในสังคมจะมีความ สนิทสนมกันมาก หากใครทำผิด ทุกครัวเรือนก็จะรู้กันทั่วไป จึงทำให้สังคมต้องสร้างกฎเกณฑ์ของสังคมขึ้นมา ซึ่งมารวมถึงความสัมพันธ์ของหญิงและชาย หรือที่เราเรียกกันว่า “ แฟน ”
จะเห็นได้ว่า มีการเปิดกว้างมากกว่าในอดีตมาก เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลง อาทิเช่น สังคมมี ลักษณะที่กว้างขึ้นหรือที่เรียกว่า พหุสังคม ทำให้ลักษณะการวางกฎเกณฑ์ของสังคมมีลักษณที่ยืดหยุ่นขึ้น

ขอขอบคุณhttp://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m3-4/no09-24-32-38/page12.html

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การคบเพื่อน

หลักในการคบเพื่อน


คนเราเกิดมาต้องมีเพื่อนกันทุกคน เพราะว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่กันเป็นสังคม มีสัมพันธภาพเป็น สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของบุคคลหนึ่งอย่างที่สุด คำสอนที่ว่า " คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล " นั้นยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย การที่เด็กคนหนึ่งเกิดมาในสังคมหนึ่ง ซึ่งมีทั้งคนดีและ ไม่ดีปะปนผสมกันไปนั้น ย่อมต้องส่งผลต่อเส้นทางเดินของเด็กคนนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราสังเกตดูให้ดี ให้ลึก และมีจิตใจเป็นกลาง เราจะพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จบนโลกใบนี้ล้วนมีเพื่อนดีกันทุกคน เพื่อนที่ ดีที่ว่านี้คือ บุคคลซึ่งปิดทองหลังพระคอยตักเตือนชี้แนะ คอยนำพาเราไปพบแต่สิ่งดี ๆ และนำสิ่งดี ๆ มาให้เรา เสมอโดยโดยไม่หวังผลตอบแทน การที่เด็กสมัยนี้จะเป็นคนดีมีคุณธรรมได้นั้น นอกจากต้องได้รับความดูแลเอา ใจใส่และให้การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูอาจารย์แล้ว เพื่อนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำพาให้เขาถึงฝั่งฝันสมใจ ปองของทุก ๆ คนได้ง่าย ลองดูหลักในการคบเพื่อน และ ความหมายของการคบบัณฑิตกันดีกว่า เผื่อจะได้ความ หมายของคำว่า มีศตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรที่เป็นพาลและนำไปไช้ในชีวิตประจำวันอย่างเกิดประโยชน์เราควร

มีหลักการคบเพื่อนอย่างไรบ้าง

1) คนพาลชอบชักนำไปในทางที่ผิด เช่นชักชวนไปกินเหล้าเมายา เที่ยวกลางคืน

2) คนพาลไม่ชอบวินัย ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองและประพฤติผิดศีลธรรม

3) คนพาลชอบแต่สิ่งที่ผิด ชอบเห็นความพินาศของผู้อื่นเมื่อเวลาตัวเองทำผิดก็ภูมิใจ

4) คนพาลชอบทำในสิ่งทีไม่ใช่ธุระของตนคือ ชอบไปก้าวก่ายธุระหน้าที่ของผู้อื่น ปล่อยปละละเลย ชีวิตของตน

5) คนพาลแม้พูดจาดี ๆ ด้วยก็โกรธ เมื่อเห็นใครทีมีลักษณะเลวทรามเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 5 ประการ ให้ตั้งข้อสงสัยเลยว่า เขาเป็นคนพาลไม่ควรคบหาด้วย


สำหรับบัณฑิตนั้นในทางธรรมหมายถึง ผู้รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก รู้บุญ รู้บาป ซึ่ง อาจรับปริญญาหรือไม่ก็ตามแต่สามารถดำเนินชีวิตด้วยความรู้เหล่านั้นด้วยดี เมื่อเราคบบัณฑิตเป็นเพื่อน เราจะ ได้รับการถ่ายทอดความประพฤติและนิสัยที่ดีจากบัณฑิต ทำให้เรามีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการ งานเงินและชีวิตส่วนตัว ถึงแม้เราจะมีศัตรูเป็นบัณฑิตกับความเห็นผิดของเราเท่านั้น เมื่อเรากลับตัวเป็นคนดี บัณฑิตย่อมไม่ถือโทษโกรธเคือง แต่จะกลับเป็นมิตรแท้ให้แก่เราจนวันตาย เพราะฉะนั้นมีศัตรูเป็นบัณฑิตจึงดี กว่ามิตรทีเป็นพาล



ขอขอบคุณ http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m3-4/no09-24-32-38/page06.html

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิด


การคุมกำเนิดมีวิธีการอยู่หลายวิธีที่สามารถใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพ นางผดุงครรภ์และพยาบาลสามารถให้คำแนะนำด้านการคุมกำเนิดกับคุณได้ โดยทุกคนที่ทำงานในสำนักงานแพทย์ คลินิกบริการด้านสุขภาพของรัฐ หรือโรงพยาบาลมีหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับ
-ถุงยาง
-ถุงยางอนามัยสตรี
-ยาฆ่าอสุจิ
-ยาคุมกำเนิดที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
-ยาเม็ดคุมกำเนิด
-แหวนใส่ช่องคลอด
-แผ่นคุมกำเนิด
- ยาคุมแบบโปรเจสโตเจนอย่างเดียว
ห่วงคุมกำเนิดประเภท Hormone coils
ยาฝังคุมกำเนิด
ห่วงคุมกำเนิดประเภท Copper coils
การทำหมัน
การคุมกำเนิดฉุกเฉิน
วิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือไม่ได้
ถุงยาง
ถุงยางคือปลอกยางเนื้อบางที่สามารถม้วนออกเพื่อครอบองคชาตขณะแข็งตัว ควรสวมถุงยางตลอดช่วงเวลาการร่วมเพศ ความน่าเชื่อถือของถุงยางจะมีมากขึ้น หากใช้ร่วมกับโฟมหรือครีมฆ่าเชื้ออสุจิ ถุงยางยังสามารถใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ถุงยางมีจำหน่ายทั่วไป ทั้งในร้านอาหาร ร้านขายยา ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ถุงยางมีความน่าเชื่อถือสูงหากใช้ได้ถูกต้อง
ถุงยางอนามัยสตรี
ถุงยางอนามัยสตรีคือปลอกยางที่มีความยืดหยุ่นสำหรับสอดเข้าในช่องคลอดของผู้หญิงเพื่อปกปิดปากมดลูก ถุงยางอนามัยสตรีมีจำหน่ายในขนาดต่าง ๆ โดยแพทย์จะต้องเป็นผู้สวมใส่ให้ ควรใช้ถุงยางอนามัยสตรีร่วมกับครีมฆ่าเชื้ออสุจิ ถุงยางอนามัยสตรีสามารถสวมใส่ในตอนใดก็ได้ก่อนการร่วมเพศและควรสวมทิ้งไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหกชั่วโมงหลังการใส่ ผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถใส่ถุงยางอนามัยสตรีได้ ถุงยางอนามัยสตรีและครีมฆ่าเชื้ออสุจิเป็นวิธีการในการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้หากสวมใส่ลงในช่องคลอดอย่างถูกต้อง
ยาฆ่าอสุจิ
ยาฆ่าอสุจิใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยสตรี ทั้งนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการคุมกำเนิดหากใช้เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์นี้ทำขึ้นเป็นครีม โฟม เยลลี่หรือยาสอด ยาฆ่าเชื้ออสุจิสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ยาคุมกำเนิดที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไม่มีเอสโตรเจนมีอยู่เพียงประเภทเดียวในตลาดนอร์เวย์ ยาเม็ดนี้ป้องกันการตกไข่ของผู้หญิง(เมื่อมีการผลิตไข่) เพื่อให้ยาเกิดประสิทธิภาพ จะต้องใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ยานี้ยังสามารถใช้กับหญิงให้นมบุตรได้ ยาตัวนี้มีความเชื่อถือได้ 100% หากใช้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์เพื่อหาซื้อยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไม่มีเอสโตรเจน
ยาเม็ดคุมกำเนิด
©Stephen Meddle/Rex Features/All Over Press
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติมีจำหน่ายในท้องตลาดมากว่า 30 ปี โดยประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์สองประเภท ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน ฮอร์โมนทั้งสองชนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ผลิตเลียนแบบฮอร์โมนจากรังไข่ ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่ต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับคุณและเขียนใบสั่งยาให้ ยาเม็ดคุมกำเนิดขัดขวางการตกไข่และทำให้ไข่ไม่สามารถฝังตัวลงในผนังมดลูกได้ ยาเม็ดคุมกำเนิดมีความน่าเชื่อถือสูงหากใช้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์เพื่อซื้อยาเม็ดคุมกำเนิด
หญิงอายุเกิน 35 ปีและสูบบุหรี่ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด รวมทั้งผู้หญิงที่มีปัญหาเส้นเลือดอุดตัน มะเร็งเต้านม โรคหัวใจหรือโรคร้ายแรงทางตับ
แหวนใส่ช่องคลอด
แหวนใส่ช่องคลอดเป็นวงแหวนอ่อนนุ่มที่มีความยืดหยุ่นสามารถสวมลงในช่องคลอดได้ด้วยตัวเอง แหวนใส่ช่องคลอดประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนในปริมาณที่น้อยกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด แหวนใส่ช่องคลอดจะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนออกมา ควรใส่แหวนช่องคลอดทิ้งไว้ในช่องคลอดเป็นเวลาสามสัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยถอดและสวมแหวนใหม่หลังผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ แหวนใส่ช่องคลอดช่วยป้องกันการตกไข่ แหวนนี้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย สามารถหาซื้อแหวนใส่ช่องคลอดได้จากร้ายขายยาโดยต้องมีใบรับรองแพทย์ นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ผู้หญิงที่ไม่สามารถใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดจะไม่สามารถใช้แหวนคุมกำเนิดได้เช่นกัน
แผ่นคุมกำเนิด
แผ่นคุมกำเนิดจะมีปริมาณเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนในระดับเท่ากับยาเม็ดคุมกำเนิดแต่
โดสการใช้ยาต่ำที่สุด ฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมาผ่านทางผิวหนัง แผ่นคุมกำเนิดควรจะเปลี่ยนในวันเดียวกันของแต่ละสัปดาห์รวมเป็นเวลาสามสัปดาห์ หลังจากใช้แผ่นคุมกำเนิดไปแล้วสามสัปดาห์ คุณต้องหยุดพักหนึ่งสัปดาห์ก่อนใช้แผ่นคุมกำเนิดใหม่ในวันเดียวกันของสัปดาห์ แผ่นคุมกำเนิดใช้เพื่อป้องกันการตกไข่ สามารถหาซื้อแผ่นคุมกำเนิดได้จากร้านขายยาโดยต้องมีใบรับรองแพทย์ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อถือได้พอกับยาเม็ดคุมกำเนิด
ยาคุมแบบโปรเจสโตเจนอย่างเดียว
ยาคุมแบบโปรเจสโตเจนอย่างเดียว (Mini pill) ประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดเดียวคือ
โปรเจสโตเจน ควรใช้ยาตัวนี้ในเวลาเดียวกันของทุกวัน หากลืมใช้ยาจนเลยเวลาไปแล้วเกินกว่า 27 ชั่วโมง จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดเพิ่มเติมสำหรับช่วง 14 วันถัดไป ให้ใช้ยาตามปกติ จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์เพื่อรับยาตัวนี้
ห่วงคุมกำเนิดประเภท Hormone coils
ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้ (Intrauterine System (IUS) หรือ Intrauterine Device (IUD)) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สอดเข้าในมดลูกของผู้หญิงโดยแพทย์ การใส่ห่วงคุมกำเนิดอาจให้ความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่อาการดังกล่าวจะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หากยังรู้สึกไม่สบาย ให้สอบถามจากแพทย์ ห่วงคุมกำเนิดจะไปขัดขวางการเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูก ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถเจาะเข้าในเยื่อบุปากมดลูก นอกจากนี้ยังไปขัดขวางไม่ให้เชื้ออสุจิเคลื่อนผ่านปากมดลูก ห่วงคุมกำเนิดสามารถใช้ได้เป็นเวลาหลายปี และเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีความน่าเชื่อถือสูง
ยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดมีจำหน่ายในนอร์เวย์อยู่สองประเภทด้วยกัน โดยมีขนาดเท่ากับไม้ขีดไฟและประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ ใช้โดยการสอดเข้าใต้ท้องแขนของผู้หญิงเป็นระยะเวลาสามถึงห้าปี ขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้ โดยแพทย์จะเป็นผู้ฝังตัวยา ยาฝังคุมกำเนิดทำงานโดยป้องกันการตกไข่และส่งผลต่อการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถเข้าถึงมดลูกและท่อรังไข่ได้ ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้
ห่วงคุมกำเนิดประเภท Copper coils
©Steinar Myhr/Samfoto
ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้ (Intrauterine System (IUS) หรือ Intrauterine Device (IUD)) ใช้งานโดยสวมเข้าในมดลูกเหมือนกับห่วงคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน ห่วงคุมกำเนิดประเภทนี้จะขัดขวางไม่ให้ไข่ฝังตัวลงในมดลูกได้ และสามารถขัดขวางเชื้ออสุจิไม่ไห้เคลื่อนเข้าไปในมดลูก ห่วงคุมกำเนิดประเภทนี้ใช้ได้ผลดีเป็นเวลาห้าถึงสิบปี และถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ดีพอสมควร Copper coils สามารถทำให้ประจำเดือนมีมากกว่าปกติและอาจมีอาการปวดประจำเดือนตามมา
การทำหมัน
การทำหมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคุมกำเนิด ผู้ชายหรือผู้หญิงที่ทำหมันจะไม่สามารถมีบุตรได้ หากทำหมันแล้วการแก้ไขในภายหลังจะทำได้ยาก ดังนั้นจึงควรคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจทำหมัน
การคุมกำเนิดฉุกเฉิน
หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ฝ่ายหญิงตกไข่ โอกาสในการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 20% หากคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดในช่วงนี้ คุณสามารถซื้อยาคุมกำเนิดฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ที่ร้านขายยา ยาเม็ดเหล่านี้ประกอบด้วยฮอร์โมนในปริมาณสูงซึ่งจะต้องใช้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหลังจากผ่านไปสามถึงสี่สัปดาห์เพื่อตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ ยาชนิดนี้อาจส่งผลต่อตัวอ่อนหากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น หรืออาจสวมห่วงคุมกำเนิดภายในห้าวันหลังการร่วมเพศที่เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์.
วิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือไม่ได้
ช่วงปลอดภัย
ตามทฤษฎี เราสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้หากไม่มีการร่วมเพศในช่วงที่ผู้หญิงกำลังตกไข่ แต่เป็นวิธีการที่เชื่อถือไม่ค่อยได้เนื่องจากระยะเวลาและรอบเดือนของช่วงการตกไข่ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
วิธีการหลั่งภายนอก
หากการร่วมเพศถูกขัดขวางก่อนการหลั่งเชื้ออสุจิ อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เชื้ออสุจิบางส่วนอาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องคลอดก่อนการหลั่งเกิดขึ้น ทำให้เชื้ออสุจิที่ผิวหนังรอบ ๆ ปากมดลูกเคลื่อนตัวเข้าไปในปากมดลูกได้